เนื้อหาภายใน
หน้าแรก
คำนำ
พระบรมสารีริกธาตุ
  ความหมาย
  ประเภท
  คุณลักษณะ
  ลักษณะต่างๆ
  พระธาตุลอยน้ำ
ตำนานการเกิด
  ตำนานการเกิด
  สถานที่ประดิษฐาน
  พระอดีตพุทธเจ้า
  ธาตุปรินิพพาน
พุทธเจดีย์
  พุทธเจดีย์
  บุคคลที่ควรสร้างสถูป
  เจดีย์ประจำนักษัตร
พระธาตุพุทธสาวก
  พระธาตุพุทธสาวก
  สาวกธาตุพุทธกาล
  สาวกธาตุปัจจุบัน
บูชาพระธาตุ
  บูชาพระธาตุ
  อัญเชิญพระธาตุ
  บทบูชาพระธาตุ
  สรงน้ำพระธาตุ
  ในพุทธดำรัส และพระสาวก
  ในเทวดาและเปรต
พระธาตุปาฏิหาริย์
  พระธาตุปาฏิหาริย์
  ลักษณะการเกิด
  ประสบการณ์พระธาตุ
ภาพถ่ายพระธาตุ
  พระบรมธาตุ 1
พระบรมธาตุ 2
พระบรมธาตุ 3
  สาวกธาตุพุทธกาล
  สาวกธาตุปัจจุบัน
  วิธีถ่ายภาพพระธาตุ
บทความเกี่ยวกับพระธาตุ
พิพิธภัณฑ์พระธาตุ
กระดานข่าวสนทนา
บรรณานุกรม
บอกกล่าว
ภาพถ่ายพระธาตุ <<< กลับไปหน้านามพระสาวกสมัยกึ่งพุทธกาล

พระพุทธสาวกธาตุสมัยกึ่งพุทธกาล**

หลวงปู่ครูบาบุญปั๋น ธัมมปัญโญ
วัดร้องขุ้ม จ.เชียงใหม่

ชาติกำเนิดและชีวิตปฐมวัย

ครูบาเจ้าบุญปั๋น ธมฺมปญฺโญ เกิดในตระกูล “ปัญญานุสงส์” โยมบิดาชื่อพ่ออุ้ยหม่อมจันทร์แก้ว ปัญญานุสงส์ โยมมารดาชื่อแม่อุ้ยหม่อนสมนา ปัญญานุสงส์ พระคุณท่านถือกำเนิดเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 4 เดือนมิถุนายน พ.ศ.2451 ตรงกับวันขึ้น 6 ค่ำ เดือน 9 เหนือ จุลศักราช 1270 ตัววอกฉนำกัมโพชขอมพิไสย ไทภาษาว่าปีเปิกสัน ณ บ้านแม หมู่ที่ 8 ต.บ้านแม อ.สันป่าตอง จ.เชียงใหม่ มีพี่น้องร่วมบิดาเดียวกัน จำนวน 7 ท่านคือ
1. พระครูคำอ้าย ชยวุฑ์โฒ อดีตเจ้าอาวาสวัดธรรมชัย อดีตเจ้าคณะตำบลบ้านแม อ.สันป่าตอง จ.เชียงใหม่
2. พ่ออุ้ยน้อยใจ๋ ปัญญานุสงส์
3. พ่ออุ้ยหนานคำ ปัญญานุสงส์
4. พ่ออุ้ยก้อนแก้ว ปัญญานุสงส์
5. แม่อุ้ยก๋องคำ ปัญญานุสงส์
6. แม่อุ้ยดวงดี ปัญญานุสงส์
7. ครูบาเจ้าบุญปั๋น ธมฺมปญฺโญ
บรรดาพี่น้องทั้งหมดได้ถึงแก่มรภาพ และถึงแก่กรรมไปแล้วทุกท่าน

ปฐมวัยแห่งชีวิต
พ่ออุ้ยหม่อมจันทร์แก้ว แม่อุ้ยหม่อนสมนา ปัญญานุสงส์ ชาติภูมิท่านเป็นคนบ้านแมโดยกำเนิด จึงมีอาชีพในทางเกษตรกรรมดำเนินชีวิตด้วยการทำไร่ไถนาเลี้ยงดูบุตรธิดา ตามประสาของชาวบ้านโดยทั่วไป เมื่อครั้งยังเยาว์วัยอยู่นั้นท่านครูบาเจ้าบุญปั๋น ธมฺมปญฺโญ ได้ใช่ชีวิตเฉกเช่นชาวบ้านทั่วไป ส่วนใหญ่ก็ช่วยโยมบิดามารดาทำไร่ไถนา ในช่วงนี้ท่านครูบาคำอ้าย ชยวุฑฺโฒ ผู้เป็นพี่ชายคนโต และพ่ออุ้ยน้อยใจ๋ ปัญญานุสงส์ พ่ออุ้ยหนานคำ พี่ชายคนรองทั้งสองได้เข้าไปเป็นเด็กวัด และได้รับการบรรพชาอุปสมบทเป็นพระภิกษุสามเณรก่อนหน้านั้นแล้ว ครูบาเจ้าบุญปั๋น ธมฺมปญฺโญ ดำเนินชีวิตในเพศฆราวาสได้ไม่นาน ก็มาพิจารณาเล็งเห็นยังบรรดาสรรพสัตว์ทั้งหลายที่ดำรงชีวิตอยู่ได้ด้วยความทุกข์ยากลำบาก ต้องต่อสู้กับความยากจน บางครั้งต้องฆ่าสัตว์ตัดชีวิต เพื่อนำมาเลี้ยงปากเลี้ยงท้องของตนเอง ความรู้สึกเช่นนี้ทำให้พระคุณท่านมีใจน้อมไปในทางบรรพชา เพื่อจะศึกษาเล่าเรียนเพียรปฏิบัติธรรม ครูบาเจ้าบุญปั๋น ธมฺมปญฺโญ จึงได้นำเอาความนี้ไปเรียนให้โยมบิดาทราบ โดยมบิดาจึงได้ปรึกษากับโดยมมารดา ต่างก็มีความเห็นเป็นเอกาสมานฉันท์จึงได้พร้อมใจจัดพานข้าวตอกดอกไม้ นำเอาเด็กชายบุญปั๋น ไปฝากเรียนกับท่านครูบาเจ้าอาวาสวัดธรรมชัย

บรรพชา
เมื่อเด็กชายบุญปั๋น ในฐานะขะโยมเด็กวัดแห่งวัดธรรมชัยบ้านแม ได้รับการศึกษาอบรมอักขระวิธี ท่องจำบททำวัตรสวดมนต์และฝึกแสดงพระธรรมเทศนาแบบพื้นเมืองล้านนาผ่านไปได้ระยะหนึ่ง พระสงฆ์ทุกท่านที่เป็นครูบาอาจารย์ต่างลงความเห็นว่าเด็กชายบุญปั๋น มีภูมิความรู้พอที่จะบรรพชาได้ และได้ตกลงจัดงานบรรพชาเด็กชายบุญปั๋น ยกฐานะขึ้นเป็นสามเณร ในขณะที่ท่านมีอายุได้ 13 ปี โดยมีท่านครูบาเจ้าสุริยะ สุริโย เจ้าอธิการวัดร้องขุ้ม เป็นพระอุปัชฌาย์ เมื่อวันอังคารที่ 14 เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2464 ตรงกับวันแรม 3 เดือน 5 เหนือ เมื่อบรรพชาเป็นสามเณรแล้ว ครูบาเจ้าบุญปั๋น ธมฺมปญฺโญ ได้ตั้งใจเล่าเรียนวิชาความรู้ในทางพระพุทธศาสนาเต็มกำลังความสามารถ

อำนาจแห่งโรคภัยจึงจำใจลาสิกขาบท
แต่อุปสรรคของการศึกษาและปฏิบัติธรรมก็ปรากฏขึ้นเมื่ออายุได้ 19 ปี จากอาการที่ท่านเล่าให้ฟังสันนิษฐานว่าท่านอาพาธด้วยโรคหัวใจ โยมบิดาและญาติผู้ใหญ่ พร้อมด้วยครุบาอาจารย์ได้นำท่านไปรับการรักษาจามสถานพยาบาลต่างๆทั้งแบบแพทย์แผนไทยและแผนปัจจุบัน ก็ปรากฏว่าอาการไม่ทุเลาเบาบางเลย กลับทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น จนกระทั่งอายุได้ 24 ปี แม้จะมีอายุครบแล้วก็ยังไม่ได้รับการอุปสมบทเป็นพระภิกษุ ต่อมาในการณ์นั้นปรากฏว่ามีนักบุญท่านหนึ่ง คนทั้งหลายเรียกกันว่า พระฤาษี ท่านได้เดินธุดงค์มาโปรดคณะศรัทธาญาติโยมที่บ้านกาด ต.บ้านกาด อ.แม่วาง จ.เชียงใหม่ คุณวิเศษของพระฤาษีตนนี้คือท่านสามารถรักษาโรคได้ทุกชนิด โยมบิดาจึงตัดสินใจพาท่านไปขอรับการรักษาจากพระฤาษี สามเณรบุญปั๋นจึงได้ลาสิกขาบทจากสามเณรออกไปเป็นชั่วคราว เมื่ออายุได้ 24 ปี แต่ได้สมาทานศีลนุ่งขาวห่มขาวขอบวชเป็นชีผ้าขาว และได้รับการรักษาตัวจากพระฤาษีเป็นเวลา 1 ปี จนกระทั่งโรคภัยไข้เจ็บต่างๆหายไปหมดสิ้น จากนั้นท่านได้ติดตามพระฤาษีไปโปรดเมตตารักษาคนตามสถานที่ต่างๆ เป็นระยะเวลา 1 ปีเต็ม ตลอดเวลาที่ลาสิกขาบทออกไปเพื่อรักษาตัวนั้น นายน้อยผ้าขาวบุญปั๋นได้คิดอยู่เสมอว่าหากอาการอาพาธหายแล้วก็จะกลับมาบวชอีกครั้ง จึงขออนุญาตพระฤาษีเดินทางกลับมายังวัดธรรมชัยบ้านแมและได้กราบเรียนเรื่องนี้แด่ท่านครูบาคำอ้าย ชยวุฑฺโฒ แจ้งความประสงค์ที่จะขอกลับเข้ามาอุปสมบทอีกครั้ง

ชีวิตสมณะ การแสวงหาธรรม และปฏิปทา

อุปสมบท กลับเข้าสู่ร่มกาสาวพัสตร์
เมื่อท่านครูบาคำอ้าย ชยวุฑฺโฒ และคณะศรัทธาทราบถึงกุศลเจตนา แล้วก็ได้จัดให้เป็นไปตามความประสงค์ของท่าน ดังนั้นนายน้อยผ้าขาวบุญปั๋น จึงได้รับการอุปสมบทอีกครั้งหนึ่ง เมื่อวันที่ 25 เดือนมิถุนายน พ.ศ. 2477 ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 10 ขณะมีอายุได้ 26 ปี ณ พัทธสีมาโรงอุโบสถวัดร้องขุ้ม ต.บ้านแม อ.สันป่าตอง จ.เชียงใหม่ โดยมี เจ้าอธิการอุนใจ๋ ญาโณ (ครูบาญาณะ) เจ้าอาวาสวัดท่าโป่ง เจ้าคณะตำบลบ้านแม เป็นพระอุปัชฌาย์ พระครูบุญมา เมโธ (ครูบาเมธา) อาจารย์ใหญ่ฝ่ายวิปัสสนาธุระ วัดวนารามน้ำบ่อหลวง เป็นพระกรรมวาจารย์ พระอธิการเตชา เตชกโร (ครูบาเตชา หรือท่านครูบาหนิ้ว) เจ้าอาวาสวัดจอมแจ้ง เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับสมณฉายาทางพระพุทธศาสนาว่า “ธมฺมปญฺโญ” แปลว่า ผู้มีปัญญารู้ธรรม

ศึกษาและปฏิบัติธรรม
เมื่ออุปสมบทแล้วพระบุญปั๋น ธมฺมปญฺโญ ก็ได้ตั้งใจศกึษาเล่าเรียนพระธรรมวินัยตามแนวทางแห่งพระพุทธศาสนามาด้วยดีโดยตลอด และได้รับการศึกษาอบรมจากครูบาอาจารย์ต่างๆ ประกอบไปด้วย พระครูคำอ้าย ชยวุฑฺโฒ เจ้าอธิการอุ่นใจ๋ ญาณ พระครูบุญมา เมโธ ครูบาโสภา โสภโณ และพระสุธรรมยานเถร เจ้าอาวาสวัดวนารามน้ำบ่อหลวง คนทั่วไปเรียกท่านว่า “ครูบาเจ้าอิทจักรรักษา”

ปัจฉิมวัยแห่งชีวิต
เมื่อท่านครูบาบุญปั๋น ธมฺมปญฺโญ มีพรรษายุกาลมากขึ้น ก็มีศรัทธาสาธุชนที่เคารพเลื่อมใสท่านมากขึ้น มีผู้คนเดินทางมานมัสการขอพรและอาราธนาท่านไปกิจนิมนต์ต่างๆโดยตลอด ในปี 2538 ท่านได้เกิดอุบัติเหตุหกล้มลงตรงที่บันไดกุฏิ ทำให้กระดูกเองและกระดูกสันหลังของท่านแตกทำให้การเดินและการเคลื่อนไหวเป็นไปด้วยความยากลำบาก ต้องใช้อุปกรณ์เสริมช่วยในการเดิน และก็เป็นไปอย่างเชื่องช้า จนกระทั่งในปี 2548 ระบบการทำงานของหัวใจของท่านครูบาบุญปั๋น ธมฺมปญฺโญ เป็นไปไม่ปรกติ และได้มรณภาพละสังขารเมื่อวันที่ 16 มกราคม พ.ศ.2545 ด้วยอาการที่สงบในภวังค์แห่งสมาธิจิตอันเที่ยงตรง

ธรรมโอวาท
๑.

ภาพพระธาตุ




แหล่งข้อมูล: หนังสือ "ธรรมปัญญานุสรณ์ " งานบำเพ็ญกุศลพระราชทานเพลิงศพเป็นกรณีพิเศษ ครูบาเจ้าบุญปั๋น ธมฺมปญฺโญ อายุ 95 พรรษา 68 อดีตเจ้าอาวาสวัดร้องขุ้ม ณ เมรุปราสาทนกหัสดีลิงค์วัดร้องขุ้ม ตำบลบ้านแม อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่ 16-22 มกราคม 2548

<<< back

พระบรมสารีริกธาตุ และ พระธาตุพระพุทธสาวก
พุทธบูชา 2542 - 2553 @ http://www.relicsofbuddha.com