เนื้อหาภายใน
หน้าแรก
คำนำ
พระบรมสารีริกธาตุ
  ความหมาย
  ประเภท
  คุณลักษณะ
  ลักษณะต่างๆ
  พระธาตุลอยน้ำ
ตำนานการเกิด
  ตำนานการเกิด
  สถานที่ประดิษฐาน
  พระอดีตพุทธเจ้า
  ธาตุปรินิพพาน
พุทธเจดีย์
  พุทธเจดีย์
  บุคคลที่ควรสร้างสถูป
  เจดีย์ประจำนักษัตร
พระธาตุพุทธสาวก
  พระธาตุพุทธสาวก
  สาวกธาตุพุทธกาล
  สาวกธาตุปัจจุบัน
บูชาพระธาตุ
  บูชาพระธาตุ
  อัญเชิญพระธาตุ
  บทบูชาพระธาตุ
  สรงน้ำพระธาตุ
  ในพุทธดำรัส และพระสาวก
  ในเทวดาและเปรต
พระธาตุปาฏิหาริย์
  พระธาตุปาฏิหาริย์
  ลักษณะการเกิด
  ประสบการณ์พระธาตุ
ภาพถ่ายพระธาตุ
  พระบรมธาตุ 1
พระบรมธาตุ 2
พระบรมธาตุ 3
  สาวกธาตุพุทธกาล
  สาวกธาตุปัจจุบัน
  วิธีถ่ายภาพพระธาตุ
บทความเกี่ยวกับพระธาตุ
พิพิธภัณฑ์พระธาตุ
กระดานข่าวสนทนา
บรรณานุกรม
บอกกล่าว
ภาพถ่ายพระธาตุ <<< กลับไปหน้านามพระสาวกสมัยกึ่งพุทธกาล

พระพุทธสาวกธาตุสมัยกึ่งพุทธกาล**

พระราชสังวรญาณ(พุธ ฐานิโย)
วัดป่าสาลวัน อ.เมือง จ.นครราชสีมา

ชาติกำเนิดและชีวิตปฐมวัย

นามเดิม พุธ อินทรหา กำเนิด 8 ก.พ. 2464 สถานที่เกิด อ.หนองโดน จ.นครราชสีมา อุปสมบท อุปสมบท ณ วัดปทุมวนาราม กรุงเทพมหานคร เมื่อพ.ศ. 2485 โดยมี พระปัญญาพิศาลเถระ (หนู) เป็นพระอุปัชฌาย์ สมณศักดิ์ พระราชสังวรญาณ

ชีวิตสมณะ การแสวงหาธรรม และปฏิปทา

หลวงพ่อกำพร้าบิดา มารดา ตั้งแต่อายุ 4 ขวบ ดังนั้น หลวงพ่อจึงอยู่ในความอุปการะของญาติที่ อ.สว่างแดนดิน จ.สกลนคร ต่อมาเมื่ออายุ 15 ปี ได้บรรพชาเป็นสามเณร ที่วัดอินทร์สุวรรณ อ.สว่างแดนดิน จ.สกลนคร ภายหลังบรรพชา เป็นสามเณรแล้ว หลวงพ่อได้มีโอกาสเดินทางไปยังวัดบูรพา จ.อุบลราชธานี ณ วัดแห่งนี้เอง หลวงพ่อได้ฝากตัวเป็นศิษย์ ของท่านพระอาจารย์เสาร์ กันตสีลเถระ ซึ่งเป็นพระอาจารย์ของ พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต และเริ่มรับการฝึกอบรมด้าน ปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน จากท่านพระอาจารย์เสาร์เป็นครั้งแรก ต่อมาในปีพ.ศ.2483 ท่านพระอาจารย์เสาร์ ได้พาหลวงพ่อไปฝากตัวเป็นศิษย์ ท่านเจ้าคุณพระปัญญาพิศาลเถระ ณ วัดปทุมวนาราม กรุงเทพมหานคร ซึ่งหลวงพ่อได้จำพรรษาเรื่อยมาจนอายุครบบวช จึงได้เข้าพิธีอุปสมบท ณ วัดแห่งนี้ หลวงพ่อได้ปฏิบัติศาสนกิจช่วยงานพระศาสนาตลอดมา กระทั่งในปีพ.ศ. 2513 หลวงพ่อจึงดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าอาวาส วัดป่าสาลวัน อ.เมือง จ.นครราชสีมา ตลอดเวลาที่ผ่านมา หลวงพ่อมิเคยหยุดบำเพ็ญประโยชน์ต่อพระศาสนา และสังคม ท่านยังคงรับเป็นองค์บรรยายธรรม และอบรมสมาธิภาวนาให้แก่ศาสนิกชนอย่างสม่ำเสมอ ท่านเป็นผู้สร้างคุณประโยชน์ แก่พระศาสนา และประชาชนอย่างสูง เป็นผู้ยินดีเอาใจใส่ในการอบรมสั่งสอนธรรมแก่ พระภิกษุ สามเณ ตลอดถึงสาธุชน ผู้มาถึงสำนักด้วยความเมตตา เป็นผู้ชี้นำในธรรมปฏิบัติ ทั้งเป็นผู้ปฏิบัติสำรวมตนในพระธรรมวินัย ซึ่งเป็นแบบอย่างอันดี แก่ศิษยานุศิษย์มาโดยตลอด ควรแก่การเครารพเทิดทูนยิ่ง

ธรรมโอวาท
๑. ผู้ที่จะปฏิบัติธรรม เพื่อให้ได้สมาธิที่ถูกต้อง เป็น "สัมมาสมาธิ" ให้ได้ปัญญาเป็น "สัมมาทิฏฐิ" ต้องอาศัยศีลเป็นมูลฐาน ศีลที่เรา รักษาบริสุทธิ์ บริบูรณ์ดีแล้วนั้นแหละ จะประคับประคองจิตใจ ให้มีความสงบลงสู่ความเป็นสมาธิอย่างถูกต้อง เมื่อสมาธิอาศัย อำนาจแห่งศีลเป็นเครื่องอบรม "ปัญญา" คือ ความรู้ที่เกิดขึ้นมา ย่อมเป็น "สัมมาทิฏฐิ"

๒.ขอให้ถือคติว่า สมาธิหรือการปฏิบัติธรรมอันใด ถ้าหากมันเป็นไปเพื่อความอยากใหญ่ เป็นไปเพื่อการพอกพูนกิเลส เป็นไปเพื่ออิทธิฤทธิ์ พึงเข้าใจเถิดว่า มันเป็นมิจฉาสมาธิ จึงออกนอกหลักพระพุทธศาสนา

ภาพพระธาตุ


แหล่งข้อมูล: เว็บธรรมะไทย

<<< back

พระบรมสารีริกธาตุ และ พระธาตุพระพุทธสาวก
พุทธบูชา 2542 - 2553 @ http://www.relicsofbuddha.com