เนื้อหาภายใน
หน้าแรก
คำนำ
พระบรมสารีริกธาตุ
  ความหมาย
  ประเภท
  คุณลักษณะ
  ลักษณะต่างๆ
  พระธาตุลอยน้ำ
ตำนานการเกิด
  ตำนานการเกิด
  สถานที่ประดิษฐาน
  พระอดีตพุทธเจ้า
  ธาตุปรินิพพาน
พุทธเจดีย์
  พุทธเจดีย์
  บุคคลที่ควรสร้างสถูป
  เจดีย์ประจำนักษัตร
พระธาตุพุทธสาวก
  พระธาตุพุทธสาวก
  สาวกธาตุพุทธกาล
  สาวกธาตุปัจจุบัน
บูชาพระธาตุ
  บูชาพระธาตุ
  อัญเชิญพระธาตุ
  บทบูชาพระธาตุ
  สรงน้ำพระธาตุ
  ในพุทธดำรัส และพระสาวก
  ในเทวดาและเปรต
พระธาตุปาฏิหาริย์
  พระธาตุปาฏิหาริย์
  ลักษณะการเกิด
  ประสบการณ์พระธาตุ
ภาพถ่ายพระธาตุ
  พระบรมธาตุ 1
พระบรมธาตุ 2
พระบรมธาตุ 3
  สาวกธาตุพุทธกาล
  สาวกธาตุปัจจุบัน
  วิธีถ่ายภาพพระธาตุ
บทความเกี่ยวกับพระธาตุ
พิพิธภัณฑ์พระธาตุ
กระดานข่าวสนทนา
บรรณานุกรม
บอกกล่าว
ภาพถ่ายพระธาตุ <<< กลับไปหน้านามพระสาวกสมัยกึ่งพุทธกาล

พระพุทธสาวกธาตุสมัยกึ่งพุทธกาล**

พระครูศาสนูปกรณ์ (บุญจันทร์ กมโล)
วัดสันติกาวาส อ.ไชยวาน จ.อุดรธานี

ชาติกำเนิดและชีวิตปฐมวัย

หลวงปู่บุญจันทร์ กมโล เกิดเมื่อวันศุกร์ แรม 4 ค่ำ เดือน 10 ปีมะโรง จุลศักราช 1278 ตรงกับวันที่ 15 เดือนกันยายน พุทธศักราช 2459 ที่บ้านคำพระ (กุดโอ) ตำบลคำไฮ อำเภอพนมไพร จังหวัดร้อยเอ็ด บิดาชื่อคำภา นามสกุล กัมปันโน มารดาชื่อ มุม มีพี่น้องร่วมท้องบิดามารดาด้วยกัน 5 คน โดยหลวงปู่เป็นลูกชายคนที่ 4 โดยครอบครัวมีอาชีพเลี้ยงช้าง

พออายุได้ 13 ปี ท่านจึงย้ายตามมารดา ซึ่งขณะนั้นหย่ากับโยมบิดาของหลวงปู่ ไปอยู่บ้านบึงเป่ง ตำบลงูเหลือม อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น วันหนึ่งพี่เขยให้ไปไถนา การไถนารู้สึกลำบากมากเพราะยังเล็กอยู่ เมื่อเวลาไถนาไป จิตเกิดความเมตตาสงสารควายที่กำลังลากไถอยู่เป็นอันมาก ในขณะนั้นจิตประหวัดไปถึงพระพุทธเจ้า ทันใดนั้นก็ปรากฏว่าพระพุทธเจ้าได้เกิดขึ้นที่ใจ เหมือนกับเป็นรูปโฉมของพระพุทธองค์จริงๆ จิตเกิดปีติเป็นกำลัง และมีจิตเลื่อมใสอยากจะบวชในพระพุทธศาสนาเป็นอันมาก และมีปีติอิ่มเอิบอยู่อย่างนั้น

บรรพชาครั้งที่ 1
ในปีพ.ศ. 2472 หลวงปู่จึงได้บวชเป็นสามเณรฝ่ายมหานิกายที่วัดบ้านท่าเดื่อ ตำบลตูม อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น โดยมีพระอาจารย์อุ้ย เป็นพระอุปัชฌาย์ เมื่อบวชแล้วก็พำนักอยู่ในสำนักวัดบ้านท่าเดื่อ โดยมีพระอาจารย์ทอกเป็นพระพี่เลี้ยง ขณะที่บวชอยู่นั้น หลวงปู่มีความรู้สึกว่า การปฏิบัติไม่ได้ตรงตามเจตนาที่ตั้งใจมาบวช เนื่องจากสภาพแวดล้อมในขณะนั้น เช่นการปฏิบัติของหมู่พระเณร ที่บางวันฉันอาหารเย็น หรือรับเงิน แต่หลวงปู่ก็พยายามรักษาศีลและการปฏิบัติให้ถูกต้องเสมอ พอเมื่อหลวงปู่ไม่สบายจึงถูกโยมให้สึก

บรรพชาครั้งที่ 2
ในปีพ.ศ. 2473 หลวงปู่ย้ายตามโยมมารดากลับมาที่บ้านเดิม จ.ร้อยเอ็ด จึงมีความคิดที่จะบวชใหม่อีกครั้ง พออายุได้ 18 ปี หลวงปู่จึงได้บวชเป็นสามเณรอีกครั้ง โดยหลวงปู่ได้ถวายตัวเป็นศิษย์พระอาจารย์คำดี ซึ่งเป็นพระธุดงค์กัมมัฏฐานสายพระอาจารย์มั่น ที่มาปักกลดอยู่ไม่ไกลจากบ้านของหลวงปู่ และแจ้งความประสงค์ขอบรรพชา ท่านอาจารย์คำดีจึงพาหลวงปู่ไปบวชที่วัดฟ้าหยาด บ้านคำไฮ ตำบลคำไฮ อำเภอพนมไพร จังหวัดร้อยเอ็ด โดยมีพระครูวิจิตร (จันทา) เป็นพระอุปัชฌาย์ สังกัดฝ่ายมหานิกาย เพราะในสมัยนั้นพระอุปัชฌาย์ฝ่ายธรรมยุตมีน้อยและอยู่ห่างไกล และพาหลวงปู่กลับมาจำพรรษาที่วัดโนนช้างเผือก โดยอยู่ศึกษากับพระอาจารย์สิ้ว ต่อมาพระอาจารย์สิ้วพาหลวงปู่ธุดงค์ไปนมัสการพระธาตุพนม และขากลับท่านได้พบกับหลวงปู่เสาร์ กันตสีโล ที่วัดป่าสุทธาวาส จ.สกลนคร จึงตั้งใจว่าหากอายุครบบวช ท่านจะมาบวชและศึกษากับหลวงปู่เสาร์

ชีวิตสมณะ การแสวงหาธรรม และปฏิปทา

เมื่ออายุครบบวช ท่านได้อุปสมบทที่วัดเหนือ อำเภอเมือง จังหวัดร้อยเอ็ด เมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2479 เวลา 15.15 น. โดยมีท่านเจ้าคุณพระโพธิญาณมุนี เป็นพระอุปัชฌาย์ พระมหาบุญถึง เป็นพระกรรมวาจาจารย์ เมื่ออุปสมบทแล้วได้กลับมาอยู่วัดป่าศรีไพรวัลย์ ถือนิสัยกับท่านพระอาจารย์สีโห เขมโก ได้ตั้งใจปฏิบัติกิจวัตร อาจาริยวัตร ข้อวัตรปฏิบัติด้วยความเคารพไม่ให้ขาดตกบกพร่อง

ครั้นต่อมาท่านจึงได้เดินทางไป จ.อุบลราชธานี เพื่อขอศึกษากับพระอาจารย์เสาร์ดังที่ตั้งใจไว้ตั้งแต่ครั้งเป็นสามเณร และได้อยู่อบรมกับท่านพระอาจารย์เสาร์ ต่อมาท่านก็ได้ไปจำพรรษาตามที่ต่างๆ และศึกษาปฏิบัติร่วมกับพระอาจารย์องค์อื่นๆ อีกมากมาย

ในปีพ.ศ. 2493 มีผู้ถวายที่ดิน เพื่อสร้างวัดป่าขึ้นโดยเรียกชื่อว่า วัดป่าหนองท้ม ภายหลังท่านเจ้าคุณพระธรรมเจดีย์ (จูม พันธุโล) ที่วัดโพธิสมภรณ์ อุดรธานี ได้เดินทางมาเยี่ยมชม และได้เปลี่ยนชื่อวัดใหม่เป็น "วัดป่าสันติกาวาส" ในการสร้างวัดนี้ หลวงปู่บัว สิริปุณฺโณ ได้เดินทางมาร่วมสร้างวัดด้วย

หลวงปู่ได้จำพรรษา ฝึกอบรมพระ เณร และญาติโยม ที่วัดป่าสันติกาวาสเรื่อยมา จนกระทั่งมรณภาพ หลวงปู่มรณภาพอย่างสงบที่วัดป่าสันติกาวาส ในปี พ.ศ.2537 พรรษาที่ 59


ธรรมโอวาท
๑. “ถ้าทำสติให้กล้ามากขึ้นไป มันก็ปรากฏขึ้นมาให้เราเห็นด้วยทางใจ ใจของเราก็รู้ รู้ธรรมอยู่ที่นี่ มรรคผลอยู่ที่นี่ ไม่ได้อยู่ที่อื่น ก็อยู่ที่ใจของเรานั่นเอง ไม่ได้อยู่นอกเหนือจากใจของเราไป เราก็จะรู้จะเห็นอยู่ที่นี่ สมาธิอยู่ที่ไหน ก็อยู่ที่ใจนี่เอง”

๒. “ความตั้งมั่นนั้นได้ชื่อว่าสมาธิ ท่านก็บอกอยู่อย่างนั้น ปัญญาความรอบรู้ในกองสังขารนั่น สังขารคือความคิด ความนึก ความปรุง ความแต่ง คิดในอารมณ์ต่าง ๆ นั่นเรียกว่าสังขาร เรามีสติรู้เท่าทัน สังขารเหล่านี้มันปรุงขึ้นมา เราระงับ เราตัดออกไม่ให้มันเกิด ไม่ให้มันมีในใจเรา ให้ใจเราตั้งอยู่มั่นอยู่ในสมาธินั่นแหละ มรรคผลมันจะเกิดขึ้นที่ไหน มันก็เกิดในใจนั่นแหละ ก็ปรากฏอยู่ที่นั่น จะไปหาเอาที่ไหน มรรคผลไม่ได้อยู่นอกเหนือจากใจของตน

ไปบำเพ็ญที่ไหนก็เอา ‘ใจ’ นั่นแหละไป ในดงในป่าในภูเขาที่ไหนก็เอา ‘ใจ’ นั่นแหละบำเพ็ญ นี่ให้เราเข้าใจอย่างนั้น นักปฏิบัติทั้งหลายอย่าลืมตัว อย่าหลงตัวเท่านี้แหละ หมั่นฝึกหัดสติของตนให้กล้า เมื่อสติของเรามันกล้าพอแล้ว จะกำหนดดูที่ไหนมันก็ทะลุปรุโปร่งไปหมด ถ้าสติมันกล้าพอแล้ว มันมีกำลังพอแล้ว กำหนดดูกายของตน มันก็ทะลุปรุโปร่งไปหมด หรือจะกำหนดดูอะไรก็รู้ซาบซึ้งอยู่ภายใน...”

ภาพพระธาตุ


แหล่งข้อมูล-ธรรมะหลวงปู่: เว็บไซต์ธรรมะ 5 นาที ตัดทอนและเรียบเรียงประวัติหลวงปู่จาก เว็บกมโล

<<< back

พระบรมสารีริกธาตุ และ พระธาตุพระพุทธสาวก
พุทธบูชา 2542 - 2553 @ http://www.relicsofbuddha.com