เนื้อหาภายใน
หน้าแรก
คำนำ
พระบรมสารีริกธาตุ
  ความหมาย
  ประเภท
  คุณลักษณะ
  ลักษณะต่างๆ
  พระธาตุลอยน้ำ
ตำนานการเกิด
  ตำนานการเกิด
  สถานที่ประดิษฐาน
  พระอดีตพุทธเจ้า
  ธาตุปรินิพพาน
พุทธเจดีย์
  พุทธเจดีย์
  บุคคลที่ควรสร้างสถูป
  เจดีย์ประจำนักษัตร
พระธาตุพุทธสาวก
  พระธาตุพุทธสาวก
  สาวกธาตุพุทธกาล
  สาวกธาตุปัจจุบัน
บูชาพระธาตุ
  บูชาพระธาตุ
  อัญเชิญพระธาตุ
  บทบูชาพระธาตุ
  สรงน้ำพระธาตุ
  ในพุทธดำรัส และพระสาวก
  ในเทวดาและเปรต
พระธาตุปาฏิหาริย์
  พระธาตุปาฏิหาริย์
  ลักษณะการเกิด
  ประสบการณ์พระธาตุ
ภาพถ่ายพระธาตุ
  พระบรมธาตุ 1
พระบรมธาตุ 2
พระบรมธาตุ 3
  สาวกธาตุพุทธกาล
  สาวกธาตุปัจจุบัน
  วิธีถ่ายภาพพระธาตุ
บทความเกี่ยวกับพระธาตุ
พิพิธภัณฑ์พระธาตุ
กระดานข่าวสนทนา
บรรณานุกรม
บอกกล่าว
ภาพถ่ายพระธาตุ <<< กลับไปหน้านามพระสาวกสมัยกึ่งพุทธกาล

พระพุทธสาวกธาตุสมัยกึ่งพุทธกาล**

พระครูสุวัณโณปมคุณ (คำพอง ติสโส)
วัดป่าพัฒนาธรรม(ถ้ำกกดู่) จ.อุดรธานี

ชาติกำเนิดและชีวิตปฐมวัย

หลวงพ่อคำพอง ถือกำเนิดในครอบครัว สงเคราะห์ เป็นบุตรของ คุณพ่อบุญนาค และคุณแม่หลุน เกิดเมื่อเสาร์ที่ ๓ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๖๕ ตรงกับวันขึ้น ๙ ค่ำ เดือน ๗ ปีจอ ที่บ้านกุดตะกร้า ต.สงเปลือย อ.คำเขื่อนแก้ว จ.อุบลราชธานี (ปัจจุบันขึ้นกับ จ.ยโสธร) เป็นบุตรคนที่ ๒ ในจำนวน ๘ คน อาชีพทำนา เมื่ออายุได้ ๑๘ ปี โยมมารดาก็ล้มป่วยด้วยโรคไข้มาเลเรียและเสียชีวิตลง ในช่วงอายุนี้ หลวงพ่อได้ฝึกมวยไทยและขึ้นชกหลายเวที ในการชกครั้งสุดท้ายกรรมการตัดสินให้เสมอกัน สร้างความผิดหวังให้กับหลวงพ่อเป็นอย่างมาก เนื่องจากตั้งแต่ชกมวยมาไม่เคยเสมอเลย ถ้าแพ้ก็ให้แพ้ ชนะก็ให้ชนะกันไป

พ.ศ. ๒๔๘๕ โยมบิดาให้หลวงพ่อไปช่วยสร้างกุฏิที่วัดหลวงปู่ขัน ซึ่งมีศักดิ์เป็นน้าของหลวงพ่อ วันหนึ่งในระหว่างนั่งเหลาไม้ทำงานบ้านอยู่ ก็มาคิดนิยายเก่าๆ ที่เคยได้ยินเขาเล่นและอ่านสืบๆ ต่อมา เช่น รามเกียรติ์ สิงหลชัย ลักษณวงศ์และประวัติพระพุทธเจ้า เป็นต้น มาพิจารณาดู ทศกัณฑ์ในรามเกียรติ์นี่ ถึงจะเก่งวิเศษวิโสเท่าไหร่ก็ตาม พระราม พระลักษณ์ มีความซื่อสัตย์สุจริต มีศีลธรรมเป็นที่ตั้ง ในที่สุดทศกัณฑ์ก็ต้องตาย พระลักษณวงศ์ถือแต่ศีลอย่างเดียว สู้กับยักษ์มืดฟ้ามัวดิน เป็นหมื่นเป็นแสนได้ยังสู้ไหว คนเดียวเท่านั้น "เอ…..เรานี่ กำปั้นหุ้มนวมจะไปสู้กับคนทั้งโลกไหวหรือ มันต้องอาศัยศีลธรรมเข้าช่วยถึงจะได้"

ชีวิตสมณะ การแสวงหาธรรม และปฏิปทา

วันที่ ๘ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๖ เดือน ๖ อายุ ๒๑ ปี หลวงพ่อก็อุปสมบทที่วัดมหาชัย ต.หนองบัว อ.หนองบัวลำภู จ.อุดรธานี โดยมีพระครูพิศาลคณานุกิจ เป็นพระอุปัชฌาย์ (วัดนี้หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต พระอาจารย์ใหญ่กรรมฐานภาคอีสานเคยมาพักเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๖๖) พระอธิการจันทร์ จันทธัมโม เป็นพระกรรมวาจาจารย์ ในพรรษาที่ ๒ หลวงพ่อได้เดินทางออกไปพบหลวงปู่มั่น ที่เสนาสนะบ้านนามน จ.สกลนคร หลวงพ่อได้ศึกษาอยู่กับหลวงปู่มั่นได้ ๓ เดือน จึงเดินทางกลับบ้านเพื่อมาคัดเลือกทหาร เมื่อคัดเลือกทหารเสร็จ หลวงปู่อ่อนศร สุเมโธ ได้ชวนหลวงพ่อไปจำพรรษาที่วัดบ้านกลางใหญ่ อ.บ้านผือ จ.อุดรธานี ท่านจึงจำพรรษาอยู่ที่นี่ ๑ พรรษา

ออกพรรษาแล้ว หลวงพ่อก็ออกธุดงค์ไปตามป่าเขา ถ้ำ ป่าช้า อยู่ที่ถ้ำเมฆจนถึงเดือน ๓ ก็ออกเดินทางไปพระบาทบัวบกบัวบาน เลยไปถึงถ้ำพระ จ.อุดรธานี และเดินต่อไปถึงถ้ำทาสี และถ้ำผาปู่ จ.เลย ย้อนกลับมา จ.หนองคาย พบหลวงปู่เทสก์ เทสรังสี (ศิษย์ชั้นผู้ใหญ่ของหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต) จำพรรษาเป็นเจ้าอาวาสวัดป่าอรัญวาสี อ.ท่าบ่อ จ.หนองคาย อยู่ฟังเทศน์กับหลวงปู่เทสก์จนครบ ๓ เดือน จึงได้กราบลาหลวงปู่เทสก์ กลับมาปฏิบัติธรรมที่ถ้ำพระ ไม่ไกลจากวัดบ้านกลางใหญ่ อ.บ้านผือ จ.อุดรธานี ของหลวงปู่อ่อนสี ในพรรษานี้เองหลวงพ่อได้ฝึกอ่านหนังสือ สวดพระปาฏิโมกข์ได้ ในขณะที่นั่งสมาธิ ทั้งๆที่ไม่เคยอ่านเขียนหนังสือมาก่อน

ต่อมาหลวงพ่อได้กลับไปหาหลวงปู่เทสก์ และเดินทางไปรับใช้หลวงปู่มั่นอยู่ ๔ พรรษา ในช่วงพรรษาที่ ๖ หลวงพ่อได้รับนิมนต์ไปเป็น เจ้าอาวาสวัดไตรรัตน์ บ้านท่าควายใต้ ต.ป่าสามารถ อ.เมือง จ.นครพนม แทนหลวงปู่ฝั้น อาจาโร ซึ่งหลวงพ่อก็ได้ทำหน้าที่เผยแผ่ “ธรรมปฏิบัติ” จนเป็นที่เลื่อมใสศรัทธาของประชาชนแถบนั้น พรรษที่ ๗ หลวงพ่อได้เดินทางกลับไปเยี่ยมบิดาซึ่งป่วยหนัก ขณะนั้นหลวงปู่มั่นก็อาพาธเช่นกัน หลวงพ่อตัดสินใจไปเยี่ยมบิดา แต่พอไปถึงก็ทราบว่า โยมบิดาได้เสียชีวิตแล้ว เมื่อจัดการเรื่องงานศพเสร็จสิ้น หลวงพ่อจึงรีบเดินทางกลับมาบ้านหนองผือ ระหว่างทางจึงได้ทราบว่าหลวงปู่มั่นได้มรณภาพลงแล้ว

ในพรรษาที่ ๘-๓๒ (พ.ศ.๒๔๙๓-๒๕๑๗) หลวงพ่อได้เดินทางไปเผยแผ่ธรรมทางภาคใต้กับคณะของหลวงปู่เทสก์ หลวงพ่ออยู่จำพรรษาที่โคกลอย จ.พังงา ๒๓ ปี และที่ภูเก็ต ๒ ปี และได้เดินทางกลับอิสานในพรรษาที่ ๓๓ โดยดำรงตำแหน่งเจ้าคณะตำบลและเจ้าอาวาสวัดป่าพัฒนาธรรม ต.โนนหวาย อ.หนองวัวซอ จ.อุดรธานี ในฉายา พระครูสุวัณโณปมคุณ โดยได้ดำเนินการพัฒนาบุคคล ทั้งทางด้านจิตใจและด้านวัตถุควบคู่กันไปโดยตลอด การพัฒนาด้านจิตใจได้อบรมสั่งสอนพระเณร และญาติโยมให้เป็นผู้มีคุณธรรมรู้จักคุณค่าพุทธศาสนา ปฏิบัติภาวนาให้เกิดความสงบ ลดอาสวะกิเลสที่หมักหมมให้เบาบางลง นอกจากนี้ยังได้บวชลูกหลานญาติโยมให้เป็นพระภิกษุสามเณร สร้างทายาทสืบต่อพระพุทธศาสนาทุกปีมิได้ขาด

พรรษาที่ ๔๘ พ.ศ. ๒๕๓๓ หลวงปู่ได้ไปจำพรรษาที่วัดบนภูพังคี หลวงพ่อใช้เวลาประมาณ ๓ ปี เมื่อได้รับอนุญาตจากรมการศาสนาให้ตั้งเป็นวัดเรียบร้อยแล้วชื่อว่า “วัดถ้ำกกดู่” ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๓๕ เป็นต้นมา หลวงพ่อได้มีอาการทางโรคหัวใจ แต่หลวงพ่อก็ยังคงออกเผยแผ่ธรรมปฏิบัติ และบำเพ็ญประโยชน์ต่อประชาชนทั้งไกลใกล้ตามปกติ โดยมิได้ห่วงกำลังต่อสังขารแต่อย่างใด

ช่วงต้นเดือนเมษายน พ.ศ. ๒๕๔๑ เส้นโลหิตในสมองด้ายซ้ายของหลวงพ่ออุดตัน ทำให้แขนและขาด้านขวาของหลวงพ่อไม่มีแรง ขยับไม่ได้ โดยหลวงพ่อต้องไปทำกายภาพบำบัดที่วัด และเข้ารับการตรวจอาการอาพาธของโรคหัวใจ และอาการอัมพาตของแขนและขาด้านขวา ที่โรงพยาบาลสมิติเวชทุก ๓ เดือน เช่นเดิม จนกระทั่งสามารถประคองตัวลุกขึ้นนั่ง และเอนตัวนอนได้ด้วยตัวเอง ส่วนมือซ้ายยังพอใช้จับของเบา ๆ และตักอาหารฉันได้ แต่ยังคงเดินไม่ได้ ใช้รถเก้าอี้รถเข็นในการเดินทางแทน

ช่วงเดือนตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๔ หลวงพ่อได้เกิดอาการอาพาธอย่างหนัก หมดสติและหัวใจหยุดเต้น แพทย์ได้ใช้ยากระตุ้นหัวใจ พร้อมเครื่องช่วยหายใจ นำเข้าห้องไอซียู จนกระทั่งท่านละสังขารในวันที่ ๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๔ สิริรวมอายุหลวงพ่อย่างเข้า ๘๐ ปี พรรษาที่ ๕๙

ธรรมโอวาท
๑. เราเดินเราไม่เคยนึกถึงพระพุทธเจ้าเราก็ไปเดินหัดนึกถึงพระพุทธเจ้าหนึ่งพุทก้าว หนึ่งโธก็ดี จะไม่ดีกว่าเดินไปเปล่าๆรึ? ถ้าเรารับประทานอาหารช้อนหนึ่งแล้วเราจะไปนึกถึงพระพุทธเจ้า อาหารอยู่ในช้อนเรา ข้าวเรา ถวายแก่พระพุทะเจ้า เราก็คงไม่ยากจนอย่างนี้ ถ้าเราคิดอย่างนี้เราดีกว่าเอาอาหารใส่ช้อนลงไปเฉยๆ อันที่เราคิดว่าอย่างนี้อะไรล่ะ? ท่านว่าเป็นสติมั้ย ? นั่นแหละสตินั่นแหละที่เราเฮ็ดเราทำกันอยู่นั่นแหละ เค้าบอกว่าหายใจออกพุท หายใจเข้าโธน่ะ ก็เพื่อเรียกสตินั้นให้มันเกิด จะไปยุบหนอพองหนอก็ตามถ้าสติมันได้ สติมาคุ้มครองให้ศีลมันสมบูรณ์ได้ สมิมารักษาอย่าให้บาปมันเกิดขึ้นได้ ใช้ได้ทั้งนั้นจะไปเอาหัวหางก็ได้ทั้งนั้น สัมมาอรหังก็ได้ถ้าเกิดมาสติ

ภาพพระธาตุ

แหล่งข้อมูล: ตัดทอน-เรียบเรียงจาก ศิษยานุศิษย์. 2545. ติสฺสตฺเถรานุสรณ์. ศิลป์สยามบรรจุภัณฑ์และการพิมพ์, กรุงเทพฯ

<<< back

พระบรมสารีริกธาตุ และ พระธาตุพระพุทธสาวก
พุทธบูชา 2542 - 2553 @ http://www.relicsofbuddha.com