เนื้อหาภายใน
หน้าแรก
คำนำ
พระบรมสารีริกธาตุ
  ความหมาย
  ประเภท
  คุณลักษณะ
  ลักษณะต่างๆ
  พระธาตุลอยน้ำ
ตำนานการเกิด
  ตำนานการเกิด
  สถานที่ประดิษฐาน
  พระอดีตพุทธเจ้า
  ธาตุปรินิพพาน
พุทธเจดีย์
  พุทธเจดีย์
  บุคคลที่ควรสร้างสถูป
  เจดีย์ประจำนักษัตร
พระธาตุพุทธสาวก
  พระธาตุพุทธสาวก
  สาวกธาตุพุทธกาล
  สาวกธาตุปัจจุบัน
บูชาพระธาตุ
  บูชาพระธาตุ
  อัญเชิญพระธาตุ
  บทบูชาพระธาตุ
  สรงน้ำพระธาตุ
  ในพุทธดำรัส และพระสาวก
  ในเทวดาและเปรต
พระธาตุปาฏิหาริย์
  พระธาตุปาฏิหาริย์
  ลักษณะการเกิด
  ประสบการณ์พระธาตุ
ภาพถ่ายพระธาตุ
  พระบรมธาตุ 1
พระบรมธาตุ 2
พระบรมธาตุ 3
  สาวกธาตุพุทธกาล
  สาวกธาตุปัจจุบัน
  วิธีถ่ายภาพพระธาตุ
บทความเกี่ยวกับพระธาตุ
พิพิธภัณฑ์พระธาตุ
กระดานข่าวสนทนา
บรรณานุกรม
บอกกล่าว
ภาพถ่ายพระธาตุ <<< กลับไปหน้านามพระสาวกสมัยกึ่งพุทธกาล

พระพุทธสาวกธาตุสมัยกึ่งพุทธกาล**

พระครูจิตตวิโสธนาจารย์ (หลวงปู่หนู สุจิตโต)
วัดดอยแม่ปั๋ง จ.เชียงใหม่

ชาติกำเนิดและชีวิตปฐมวัย

หลวงปู่หนู สุจิตฺโต ถือกำเนิดเมื่อวันที่ ๑๖ มีนาคม พ.ศ.๒๔๕๗ ในครอบครัวชาวนา มีฐานะยากจน โยมบิดาชื่อ เพชร โยมมารดาชื่อ หมุน นามสกุล สีใส มีภูมิลำเนาอยู่ที่จังหวัดยโสธร (สมัยนั้นเป็นอำเภออยู่ในจังหวัด อุบลราชธานี)

หลวงปุ่มีน้องสาว ๑ คน ท่านกำพร้าพ่อแม่ตั้งแต่ยังเล็กๆ จึงอยู่กับคุณย่า ต่อมาคุณย่า เสียชีวิตอีก จึงอาศัยอยู่กับคุณป้า เป็นผู้เลี้ยงดูต่อมา เมื่อเรียนจบชั้นประถมปีที่ ๔ จึงออกมาช่วยคุณป้าทำนา จนอายุ ๑๖-๑๗ ปี คุณป้าก็ถึงแก่กรรมอีก พอดีมีญาติมารับน้องสาวไปอยู่ด้วย ท่านจึงเข้าวัดบวชเณรเพื่อ ศึกษาพระธรรมต่อไป

ชีวิตสมณะ การแสวงหาธรรม และปฏิปทา

เนื่องด้วยมีฐานะยากจน หลวงปู่จึงต้องรับจ้างขุดดินอยู่ 1 เดือน เพื่อหาเงินมาซื้อจีวร และเครื่องบวชด้วยตนเอง แล้วจึงไปฝาก ตัวขอบวชเณรกับสมภารวัดในหมู่บ้าน ได้ฝึกหัดท่องสวดมนต์ และศึกษา ด้านถาถาอาคมบ้าง พอสมควร ในช่วงเวลานั้นเอง หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ได้มาปักกลดอยู่ในป่าช้าร้างไม่ไกลจากวัด ท่านจึงได้ไปฟังหลวงปู่มั่นแสดงธรรม และในครั้งนั้นเองหลวงปู่หนูจึงเกิดความเชื่อมั่นในธรรม ตั้งใจที่จะบวชไม่สึกตลอดชั่วชีวิต

พออายุครบบวช ท่านจึงได้อุปสมบทที่วัดเดิม สังกัดในคณะ มหานิกาย ท่านได้ ศึกษาพระธรรม วินัยหัดท่องบ่นสวดมนต์เรียนคาถาอาคมต่างๆ รวม ทั้งฝึกนั่งสมาธิด้วยตนเอง ตามแบบอย่างที่ได้รับการชี้แนะมาจาก หลวงปู่มั่น

ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๖ หลวงปู่หนู ก็ได้ญัตติเป็นพระสังกัดคณะธรรมยุต ณ พระอุโบสถ วัดสร่างโศก (ภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็นวัด ศรีธรรมาราม สังกัดคณะธรรมยุต) โดยมีพระครูจิตตวิโสธนาจารย์ (ทองพูล) เป็นพระอุปัชฌาย์ พระครูวิศาลศีลคุณ(โฮม) เป็นทั้งกระกรรมวาจาจารย์ และพระอนุสาวนาจารย์

ในปี พ.ศ. ๒๔๘๙ หลังจากฝึกสมาธิวิปัสสนา จนมั่นใจพอสมควรแล้ว หลวงปู่หนู ได้ ตัดสินใจออกธุดงค์ ซึ่งท่านได้ตัดสินใจเดินธุดงค์ไปจังหวัดต่างๆในภาคอิสาน ไปศึกษากับพระอาจารย์องค์ต่างๆ เช่น พระอาจารย์คำ หลวงปู่ฝั้น อาจาโร หลวงปู่มั่น ภูริทัตตฺโต หลวงปู่อ่อน ญาณสิริ เป็นต้นหลังจากนั้น

ท่านจึงตัดสินใจเดินทางไปยังภาคเหนือ ท่านเดินทางถึงเชียงใหม่ในขณะที่มีอายุ 29 ปี และพำนักอยู่ที่เชียงใหม่เป็นต้นมา โดยไปพำนักกับหลวงปู่สิม พุทธาจาโร ต่อมามีชาวบ้านไปขอนิมนต์พระจากหลวงปู่สิม ท่านจึงจัดให้หลวงปู่หนูไปอยู่ฉลองศรัทธาชาวบ้าน ที่บ้านป่าเปอะ อำเภอสารภี ท่านจึงได้ไปอยู่ที่นั่น 2 พรรษา ขณะที่ปฏิบัติสมาธิภาวนาอยู่ ท่านได้นิมิต เห็นบริเวณดอยแม่ปั๋งว่าเป็นถิ่นเดิมของท่าน ท่านจึงได้อำลาศรัทธาชาวบ้านป่าเปอะ ออกธุดงค์ ค้นหาสถานที่ในนิมิต จนถึงดอยแม่ปั๋ง แล้วก็ปักหลักอยู่ที่นั่นตลอดมา

หลวงปู่หนู ได้นิมนต์หลวงปู่แหวน สุจิณโณ จากวัดป่าบ้านปง ขึ้นมาพำนักบนวัดดอยแม่ปั๋ง เนื่องจากหลวงปู่แหวนอาพาธ สุขภาพทรุดโทรม เมื่อหลวงปู่แหวนรับนิมนต์แล้ว หลวงปู่หนูจึงได้คอยอุปัฏฐากดูแลหลวงปู่แหวน จนกระทั่งหลวงปู่แหวนมรณภาพ

หลวงปู่หนู สุจิตโต มรณภาพเมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2548 โดยกำหนดจัดงานพระราชทานเพลิงศพ ในระหว่างวันที่ 7-9 พฤษภาคม 2548 ณ เมรุชั่วคราว วัดดอยแม่ปั๋ง อ.พร้าว จ.เชียงใหม่ ซึ่งพิธีพระราชทานเพลิงศพกำหนดในเวลา 16.00 น. ของวันอาทิตย์ที่ 8 พฤษภาคม 2548

ธรรมโอวาท
๑.

ภาพพระธาตุ

ตัดทอนและเรียบเรียงจาก: จากหนังสือ หลวงปุ่แหวน สุจิณฺโณ วัดดอยแม่ปั๋ง อ.พร้าว จ.เชียงใหม่ , โครงการหนังสือบูรพาจารย์ เล่ม ๓ เรียบเรียงโดย รศ.ดร.ปฐม -รศ.ภัทรา นิคมานนท์ มีนาคม ๒๕๔๘ อ้างโดย http://www.geocities.com/siammedherb/arjannhu.htm

<<< back

พระบรมสารีริกธาตุ และ พระธาตุพระพุทธสาวก
พุทธบูชา 2542 - 2553 @ http://www.relicsofbuddha.com