เนื้อหาภายใน
หน้าแรก
คำนำ
พระบรมสารีริกธาตุ
  ความหมาย
  ประเภท
  คุณลักษณะ
  ลักษณะต่างๆ
  พระธาตุลอยน้ำ
ตำนานการเกิด
  ตำนานการเกิด
  สถานที่ประดิษฐาน
  พระอดีตพุทธเจ้า
  ธาตุปรินิพพาน
พุทธเจดีย์
  พุทธเจดีย์
  บุคคลที่ควรสร้างสถูป
  เจดีย์ประจำนักษัตร
พระธาตุพุทธสาวก
  พระธาตุพุทธสาวก
  สาวกธาตุพุทธกาล
  สาวกธาตุปัจจุบัน
บูชาพระธาตุ
  บูชาพระธาตุ
  อัญเชิญพระธาตุ
  บทบูชาพระธาตุ
  สรงน้ำพระธาตุ
  ในพุทธดำรัส และพระสาวก
  ในเทวดาและเปรต
พระธาตุปาฏิหาริย์
  พระธาตุปาฏิหาริย์
  ลักษณะการเกิด
  ประสบการณ์พระธาตุ
ภาพถ่ายพระธาตุ
  พระบรมธาตุ 1
พระบรมธาตุ 2
พระบรมธาตุ 3
  สาวกธาตุพุทธกาล
  สาวกธาตุปัจจุบัน
  วิธีถ่ายภาพพระธาตุ
บทความเกี่ยวกับพระธาตุ
พิพิธภัณฑ์พระธาตุ
กระดานข่าวสนทนา
บรรณานุกรม
บอกกล่าว
ภาพถ่ายพระธาตุ <<< กลับไปหน้านามพระสาวกสมัยกึ่งพุทธกาล

พระพุทธสาวกธาตุสมัยกึ่งพุทธกาล**

หลวงปู่ตื้อ อจลธัมโม
วัดอรัญญวิเวก อ.ศรีสงคราม จ.นครพนม

ชาติกำเนิดและชีวิตปฐมวัย

หลวงปู่ตื้อ อจลธมฺโม นามเดิมชื่อ ตื้อ นามสกุล ปาลิปัตต์ ท่านเป็นตระกูลชาวนา ถือกำเนิดเมื่อวันจันทร์ที่ 3 กุมภาพันธ์ พุทธศักราช 2431 ตรงกับวันขึ้น 3 ค่ำ เดือน 3 ปีชวด สัมฤทธิศกจุลศักราช 1250 ณ บ้านข่า ตำลบบ้านข่า อำเภอศรีสงคราม จังหวัดนครพนม
บิดาชื่อ นายปา ปาลิปัตต์มารดาชื่อ นางปัตต์ ปาลิปัตต์ มีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน 7 คน ได้แก่

1. นางคำมี ปาลิปัตต์
2. เป็นชาย (ถึงแก่กรรมแล้วตั้งแต่ยังเด็ก)
3. นายทอง ปาลิปัตต์
4. นายบัว ปาลิปัตต์
5. หลวงปู่ตื้อ อจลธมฺโม
6. นายตั้ว ปาลิปัตต์
7. นางอั้ว ทีสุกะ

หลวงปู่ตื้อ อจลธมฺโม เป็นผู้มีนิสัยรักความสงบ เข้าเป็นศิษย์วัดตั้งแต่ยังเด็ก และได้รับการบรรพชาเป็นสามเณรอยู่ระยะหนึ่ง เป็นผู้ใฝ่ใจในการศึกษา มีนิสัยตรงไป ตรงมา และเป็นที่น่าสังเกตว่าในเครือญาติของท่านใฝ่ใจในการบรรพชาอุปสมบททั้งนั้น และถ้าเป็นหญิงก็เข้าบวชชีตลอดชีวิต

ชีวิตสมณะ การแสวงหาธรรม และปฏิปทา

สำหรับหลวงปู่ตื้อ ได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุ เมื่อเมื่อ ปี พ.ศ.2452 มีอายุได้ 21 ปี บวชครั้งแรกในฝ่าย มหานิกาย ท่านบวชกับพระอุปัชณาย์คาน อำเภอท่าอุเทน จังหวัดนครพนม แล้วก็กลับไปจำพรรษาที่วัดบ้านข่าบวชนานถึง 19 พรรษา ต่อมาได้ญัตติเป็น ฝ่ายธรรมยุติกนิกาย หลวงปู่ตื้อ อจลธมฺโม ได้พบพระธุดงค์รูปหนึ่งซึ่งจะมีสหธรรมิกรูปสำคัญต่อไปในอนาคต พระธุดงค์หนุ่มรูปนี้มีปฏิทาลีลาอะไรหลายอย่างละม้ายเหมือนหลวงปู่ตื้อมาก พระธุดงค์รูปนี้มีนามว่า หลวงปู่แหวน สุจิณฺโณ ทั้งสองท่าน ได้สดับธรรมจากพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต หลวงปู่ตื้อ ท่านเป็นพระที่ชอบพูดชอบเทศน์ มีปฏิปทาผาดโผน และเวลาพูดเสียงท่านจะดังแต่ หลวงปู่แหวนกลับเป็นพระที่พูดน้อย เสียงเบา ไม่ชอบเทศน์ มีแต่ให้ข้อธรรมสั้นๆ มีปฏิปทาเรียบง่าย

ปัจฉิมบท
เมื่อวันที่ 13 มิถุนายน 2517 ก่อนเข้าพรรษา นับว่าเป็นการฟังเทศน์ของท่านเป็นกัณฑ์สุดท้ายกันณฑ์นี้ดูเหมือนท่านจะจงใจแสดงให้ฟังโดยเฉพาะ แล้วท่านก็หัวเราะและยิ้มให้ลูกศิษย์ อันเป็นลักษณะเดิมของท่าน แสดงว่าท่านมีอารมณ์ดีไม่สะทกสะท้านต่ออาการที่เกิดขึ้น ในขณะนั้นมีท่านอาจารย์อุ่น ท่านอาจารย์วาน และพระภิกษุสามเณรหลายสิบรูปเฝ้าดูอาการของท่านด้วยความเป็นห่วงเป็นใย แม้ท่านจะเหนื่อยมากสักปานใดก็ตาม แต่ท่านก็ยังพูดอยู่เรื่อยๆ ถึงเสียงจะเบา แต่ก็พอฟังรู้เรื่องว่า ท่านพูดอะไร วาระสุดท้ายท่านพูดว่า "ธาตุในหลวงตาวิปริตแล้ว" จากนั้นท่านไม่พูดอะไรอีกเลยกิริยาอาการทุกอย่างสงบเงียบทุกคนแน่ใจว่า หลวงปู่ตื้อ อจลธมฺโม ได้ถึงมรณภาพแล้ว เวลา 19 นาฬิกาเศษ ท่ามกลางสานุศิษย์ ทั้งบรรพชิตและคฤหัสถ์ด้วยความอาลัยยิ่ง แต่เชื่อมั่นเหลือเกินว่า ท่านได้ไปถึงสันติสุขที่สุดแล้วสิริรวมอายุได้ 86 ปี 46 พรรษา

ธรรมโอวาท
"ธรรมะคือ คำสอนของพระพุทธเจ้า พวกเรามองข้ามไปเสียหมด อยู่ที่ตัวของเรานี้เองมิใช้อื่น พุทธะคือผู้รู้ ก็ตัวของเรานี้ เองมิใช้ใครอื่น เช่นเดียวกันกับไข่ ไข่อยู่ข้างในของเปลือกไข่ ทำให้เปลือกไข่แตกเราก็ได้ไข่ พิจารณาร่างกายของเราให้แตก แล้วเราก็จะได้ธรรมะ"

ภาพพระธาตุ



แหล่งข้อมูล-ภาพประกอบ: วัดสันติธรรม. 2548. 50 ปี สันติธรรมานุสรณ์. กลางเวียงการพิมพ์, เชียงใหม่; คุณภาสกร ศิวะโสภา

<<< back

พระบรมสารีริกธาตุ และ พระธาตุพระพุทธสาวก
พุทธบูชา 2542 - 2553 @ http://www.relicsofbuddha.com