เนื้อหาภายใน
หน้าแรก
คำนำ
พระบรมสารีริกธาตุ
  ความหมาย
  ประเภท
  คุณลักษณะ
  ลักษณะต่างๆ
  พระธาตุลอยน้ำ
ตำนานการเกิด
  ตำนานการเกิด
  สถานที่ประดิษฐาน
  พระอดีตพุทธเจ้า
  ธาตุปรินิพพาน
พุทธเจดีย์
  พุทธเจดีย์
  บุคคลที่ควรสร้างสถูป
  เจดีย์ประจำนักษัตร
พระธาตุพุทธสาวก
  พระธาตุพุทธสาวก
  สาวกธาตุพุทธกาล
  สาวกธาตุปัจจุบัน
บูชาพระธาตุ
  บูชาพระธาตุ
  อัญเชิญพระธาตุ
  บทบูชาพระธาตุ
  สรงน้ำพระธาตุ
  ในพุทธดำรัส และพระสาวก
  ในเทวดาและเปรต
พระธาตุปาฏิหาริย์
  พระธาตุปาฏิหาริย์
  ลักษณะการเกิด
  ประสบการณ์พระธาตุ
ภาพถ่ายพระธาตุ
  พระบรมธาตุ 1
พระบรมธาตุ 2
พระบรมธาตุ 3
  สาวกธาตุพุทธกาล
  สาวกธาตุปัจจุบัน
  วิธีถ่ายภาพพระธาตุ
บทความเกี่ยวกับพระธาตุ
พิพิธภัณฑ์พระธาตุ
กระดานข่าวสนทนา
บรรณานุกรม
บอกกล่าว
ภาพถ่ายพระธาตุ <<< กลับไปหน้านามพระสาวกสมัยกึ่งพุทธกาล

พระพุทธสาวกธาตุสมัยกึ่งพุทธกาล**

หลวงปู่ผาง จิตฺตคุตฺโต
วัดอุดมคงคาคีรีเขต จ.ขอนแก่น

ชาติกำเนิดและชีวิตปฐมวัย

หลวงปู่ผาง จิตฺตคุตฺโต วัดอุดมคงคาคีรีเขต ตำบลนางาม อำเภอมัญจาคีรี จังหวัดขอนแก่น นามเดิมของท่านชื่อ ผาง ครองยุติ เกิดเมื่อวันที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2445 ตรงกับวันอังคาร ขึ้น 2 ค่ำ เดือนเก้า ปีขาล ที่บ้านกุดเกษียร ตำลบกุดเกษียร อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี

โยมบิดาชื่อ ทัน โยมมารดาชื่อ บัพพา ครองยุติ มีพี่น้องร่วมท้องเดียวกัน 3 คน หลวงปู่เป็นคนสุดท้อง โยมบิดาและมารดามีอาชีพทำนาเป็นหลัก

เมื่อหลวงปู่มีอายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ ได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุเมื่อออกพรรษาจึงได้ลาสิกขาจากแล้วก็ได้สมรสกับ นางจันดี ตามประเพณีโดยไม่มีบุตรสืบสกุล จึงได้ขอบุตรของญาติมาเลี้ยงเป็นบุตรบุญธรรมชื่อ นางบุญปราง

ชีวิตสมณะ การแสวงหาธรรม และปฏิปทา

ส่วนหลวงปู่ได้เข้าอุปสมบทในฝ่ายมหานิกายที่วัดบ้านกุดเกษียร อำเภอเขื่อนใน จังหวัดอุบลราชธานี โดยมีท่านพระครูศรี (วัดคูขาด) เป็นพระอุปัชฌาย์ ได้รับฉายาว่า "จิตฺตคุตฺโต"

ได้เข้าศึกษาอบรมพระกรรมฐานอยู่ในสำนักวัดป่าวารินชำราบ อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี กับพระอาจารย์สิงห์ ขนฺตยาคโม-(เจ้าคุณพระญาณวิศิษฏ์) และพระอาจารย์มหาปิ่น ปญฺญาพโล ต่อมาหลวงปู่จึงได้รับการญัตติเป็นธรรมยุต ในวันที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2488 โดยมีพระมหาอ่อน เจ้าคณะอำเภอเขื่องในเป็นพระอุปัชฌาย์ พระมหาทรายเป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระมหาจันทร์เป็นพระอนุสาวนาจารย์

เมื่อหลวงปู่ผางได้รับการญัตติเป็นพระภิกษุฝ่ายธรรมยุติกนิกายแล้ว ท่านก็ยังเข้ารับการอบรมพระกรรมฐานอยู่ในสำนักท่านพระอาจารย์สิงห์ต่อไปอีกเป็นเวลาอันสมควรแล้วจึงได้ออกปฏิบัติพระธุดงค์กรรมฐานไปวิเวกโดยลำพัง ต่อมาจึงได้พบกับพระอาจารย์มั่น ภูมิทตฺโต เกิดความเลื่อมใสได้ฝากตัวเป็นศิษย์ และได้เข้าอบรมอยู่กับพระอาจารย์มั่น ที่วัดป่าบ้านเผือกนาใน ในปี พ.ศ. 2492 หลวงปู่ผางได้ธุดงค์มายังวัดอุดมคงคาคีรีเขต อำเภอมัญจาคีรี จังหวัดขอนแก่น หลวงปู่ผางเป็นผู้มีความสามารถในการพัฒนาทั้งทางด้านวัตถุและทางด้านจิตใจ หลวงปู่ผางสั่งสอนชาวบ้านให้เลิกนับถือผีหันมานับถือพระรัตนตรัย ท่านอยู่จำพรรษาที่นี่จนตลอดชีวิตของท่าน ได้ละทิ้งขันธ์ไปเมื่อวันที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2525

ธรรมโอวาท
หลวงปู่ จิตฺตคุตฺโต เป็นพระนักปฏิบัติที่มั่นคงอดทนเป็นเลิศรูปหนึ่ง ชองทำมากกว่าพูด บทโอวาทเทศนาสั่งสอนต่างๆ จึงไม่ค่อยมี ท่านอุดมคติอยู่ว่า "มีชื่อบ่อยากให้ปรากฏมียศบ่อยากให้ลือชา"

ศีลข้อห้าเป็นข้อที่หลวงปู่ย้ำเน้นตลอดมา หลวงปู่มักจะให้โอวาทให้พรว่า "อย่าสิเอาพระรัตนตรัยไปกินเหล้า เด้อ" "ให้สำบายๆ เด้อ" "ให้อยู่ดีมีแฮง เด้อ"

ภาพพระธาตุ

แหล่งข้อมูล-ภาพประกอบ: วัดสันติธรรม. 2548. 50 ปี สันติธรรมานุสรณ์. กลางเวียงการพิมพ์, เชียงใหม่; คุณภาสกร ศิวะโสภา

<<< back

พระบรมสารีริกธาตุ และ พระธาตุพระพุทธสาวก
พุทธบูชา 2542 - 2553 @ http://www.relicsofbuddha.com