เนื้อหาภายใน
หน้าแรก
คำนำ
พระบรมสารีริกธาตุ
  ความหมาย
  ประเภท
  คุณลักษณะ
  ลักษณะต่างๆ
  พระธาตุลอยน้ำ
ตำนานการเกิด
  ตำนานการเกิด
  สถานที่ประดิษฐาน
  พระอดีตพุทธเจ้า
  ธาตุปรินิพพาน
พุทธเจดีย์
  พุทธเจดีย์
  บุคคลที่ควรสร้างสถูป
  เจดีย์ประจำนักษัตร
พระธาตุพุทธสาวก
  พระธาตุพุทธสาวก
  สาวกธาตุพุทธกาล
  สาวกธาตุปัจจุบัน
บูชาพระธาตุ
  บูชาพระธาตุ
  อัญเชิญพระธาตุ
  บทบูชาพระธาตุ
  สรงน้ำพระธาตุ
  ในพุทธดำรัส และพระสาวก
  ในเทวดาและเปรต
พระธาตุปาฏิหาริย์
  พระธาตุปาฏิหาริย์
  ลักษณะการเกิด
  ประสบการณ์พระธาตุ
ภาพถ่ายพระธาตุ
  พระบรมธาตุ 1
พระบรมธาตุ 2
พระบรมธาตุ 3
  สาวกธาตุพุทธกาล
  สาวกธาตุปัจจุบัน
  วิธีถ่ายภาพพระธาตุ
บทความเกี่ยวกับพระธาตุ
พิพิธภัณฑ์พระธาตุ
กระดานข่าวสนทนา
บรรณานุกรม
บอกกล่าว
ภาพถ่ายพระธาตุ <<< กลับไปหน้านามพระสาวกสมัยกึ่งพุทธกาล

พระพุทธสาวกธาตุสมัยกึ่งพุทธกาล**

พระครููวรวุฒิคุณ (อิน อินโท)
วัดคันธาวาส (ทุ่งปุย) จ.เชียงใหม่ 

ชาติกำเนิดและชีวิตปฐมวัย

พระครูวรวุฒิคุณ หรือครูบาอิน อินโท หรือครูบาฟ้าหลั่ง เดิมชื่อ อิน วุฒิเจริญ เกิดเมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2446 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ณ บ้านทุ่งปุย ตำบลยางคราม กิ่งอำเภอดอยหล่อ จังหวัดเชียงใหม่ เป็นบุตรของพ่อหนุ่ม และแม่คำป้อ เขียวคำสุข มีพี่น้องร่วมมารดาบิดา 5 คน

เมื่ออายุ 11-12 ปี มารดาได้นำไปฝากเป็นเด็กวัดทุ่งปุย (วัดคันธาวาส) และได้บรรพชาเป็นสามเณรเมื่ออายุได้ 14 ปี โดยมีครูบามหายศ เป็นพระอุปัชฌาย์ ในขณะที่เป็นสามเณรได้เรียนภาษาล้านนา หัดสวดมนต์ และกัมมัฎฐาน เมื่ออายุได้ 15 ปี ท่านก็เริ่มปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฎฐาน แบบอานาปานสติ โดยใช้คำภาวนาว่า “พุทโธ” เมื่อปฏิบัติกัมมัฎฐานแล้ว ท่านมีความเลื่อมใสในพระพุทธศาสนามากขึ้น จนกระทั่งวันหนึ่งท่านได้ตั้งสัจจะว่าจะถวายชีวิตเป็นทาน วันนั้นท่านไม่ฉันภัตตาหาร ฉันแต่น้ำ และปฏิบัติตลอดหนึ่งวันกับหนึ่งคืน และได้มีความปิติเป็นพิเศษเกิดขึ้น

ชีวิตสมณะ การแสวงหาธรรม และปฏิปทา

ท่านได้อุปสมบทเมื่อวันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2466 โดยมีครูบามหายศ เป็นพระอุปัชฌาย์ หลังจากอุปสมบทท่านจึงเริ่มเรียนภาษาไทย และต่อมาท่านได้เรียนนักธรรมจนจบนักธรรมโท นอกจากนี้ท่านยังสนใจศึกษาหาความรู้จากตำราโบราณที่ครูอาจารย์จดไว้ เมื่ออกพรรษาท่านมักจะออกรุกขมูลที่ป่าช้า

เมื่อท่านอายุได้ 51 ปี ได้ไปศึกษาวิปัสสนาที่วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ โดยฝึกกับพระธรรมธีรราชมหามุนี (โชดก ญาณสิทธิ) ครูบาอาจารย์จากทางภาคเหนือที่ได้ไปร่วมปฏิบัติครั้งนั้น ได้แก่ พระสุธรรมยานเถร (ครูบาอินทรจักร) วัดน้ำบ่อหลวง อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่ พระสุพรหมยานเถร (ครูบาพรหมา พรหมจักโก) วัดพระพุทธบาทตากผ้า อำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน และพระเทพสิทธาจารย์ (ครูบาทอง สิริมังคโล) วัดพระธาตุศรีจอมทองวรวิหาร อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ เป็นต้น เมื่อท่านสำเร็จกลับมาท่านก็ได้ฝึกสอนภิกษุ สามเณร และญาติโยมตามวิธีนี้

ครูบาอินได้กระทำกิจต่อพระศาสนา จนได้รับตำแหน่งบริหาร และสมณศักดิ์มาเป็นลำดับ ตั้งแต่ พ.ศ. 2485 ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดทุ่งปุย (ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นวัดคันธาวาส) พ.ศ. 2494 เป็นเจ้าคณะตำบลยางคราม พ.ศ. 2496 เป็นพระอุปัชฌาย์ พ.ศ. 2502 เป็นพระครูอิน (พระครูประทวน) พ.ศ. 2506 เป็นพระครูวรวุฒิคุณ (สัญญาบัตร 1) พ.ศ. 2519 เป็นพระครูสัญญาบัตร 2 ราชทินนามเดิม

ต่อมาในปี พ.ศ. 2504 ครูบาอินได้ไปบูรณะวัด (ร้าง) ฟ้าหลั่ง ซึ่งเป็นวัดสำคัญมาตั้งแต่สมัยราชวงศ์มังราย อันเป็นที่จำพรรษาของพระมหาเถระฟ้าหลั่ง ที่มีการกล่าวถึงในตำนานพระบรมธาตุศรีจอมทอง ครูบาอินได้จำพรรษาอยู่ที่วัดฟ้าหลั่งนานถึง 40 ปี พร้อมกับสร้างเสนาสนะ ศิษยานุศิษย์จึงขนานนามท่านว่า “ครูบาฟ้าหลั่ง” ก่อนจะกลับไปจำพรรษายังวัดคันธาวาส ใน พ.ศ. 2543 โดยมีเจตนาจะไปสร้างเสนาสนะ และรั้วของวัดคันธาวาส

ครูบาอินเป็นพระมหาเถระผู้เป็นรัตตัญญู เจริญด้วยชนมมายุ และพรรษา ท่านเป็นผู้ดำรงชีวิตด้วยความสมถะ และเรียบง่าย เป็นผู้มีอัธยาศัยดี มีเมตตาจิตต่อพุทธศาสนิกชนทั่วหน้า โดยไม่เลือกชั้นวรรณะ จนเมื่อพุทธศาสนิกชนทราบถึงปฏิปทาของท่าน ได้เกิดความเลื่อมใส และแวะเวียนไปกราบนมัสการท่านอยู่เนืองๆ รวมทั้งได้ร่วมทำบุญกับท่านโดยการก่อสร้างถาวรวัตถุทั้งในวัดฟ้าหลั่ง และวัดคันธาวาส

ใน พ.ศ. 2546 ครูบาอินอายุครบ 100 ปี ได้มีการทำบุญฉลองอายุ ณ วัดคันธาวาส และในปีเดียวกันท่านได้อาพาธ เข้ารับการรักษาตัว ณ โรงพยาบาล จนถึงแก่มรณภาพเมื่อวันที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2546 สิริรวมอายุได้ 101 ปี 81 พรรษา คณะศิษยานุศิษย์ได้ตั้งสรีระสังขารของท่านไว้ ณ วัดคันธาวาสเป็นเวลาถึง 4 ปี และได้ประกอบพิธีพระราชทานเพลิงศพ เมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2550

ธรรมโอวาท

อย่ามัวไปเมาเมายินดีซึ่งโลกเลย เมื่อเฮายินดีซึ่งโลกหย่อนทางธรรม เมื่อเฮายินดีซึ่งธรรมก็หย่อนทางโลก มันก็อ่อนไป อ่อนไป หย่อนทางโลก ธรรมก็เข้มแข็งขึ้นในด้านจิตใจของเฮา อย่าไปปล่อยปละละเลยว่าชีวิตของเฮายังมีอยู่ ทำไปตามอารมณ์ของเฮา มันบ่คิดถึงว่าจะขาดทุนชีวิตของเฮา บางคนมันบ่คิดหา คิดแต่จะได้จะดี จะกินจะอยู่จะเล่นหัวไปทุกอย่าง อันนี้มันไม่ใช่ของปฏิบัติกับชีวิตของเฮา ก็ขอฝากฝังไว้กับศรัทธาญาติโยม

ภาพพระธาตุ



แหล่งข้อมูล-ภาพประกอบ: คุณสาธุการ, ประวัติหลวงปู่จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี,
คำสอนจากเวบครูบาอิน อินโท

<<< back

พระบรมสารีริกธาตุ และ พระธาตุพระพุทธสาวก
พุทธบูชา 2542 - 2553 @ http://www.relicsofbuddha.com