เนื้อหาภายใน
หน้าแรก
คำนำ
พระบรมสารีริกธาตุ
  ความหมาย
  ประเภท
  คุณลักษณะ
  ลักษณะต่างๆ
  พระธาตุลอยน้ำ
ตำนานการเกิด
  ตำนานการเกิด
  สถานที่ประดิษฐาน
  พระอดีตพุทธเจ้า
  ธาตุปรินิพพาน
พุทธเจดีย์
  พุทธเจดีย์
  บุคคลที่ควรสร้างสถูป
  เจดีย์ประจำนักษัตร
พระธาตุพุทธสาวก
  พระธาตุพุทธสาวก
  สาวกธาตุพุทธกาล
  สาวกธาตุปัจจุบัน
บูชาพระธาตุ
  บูชาพระธาตุ
  อัญเชิญพระธาตุ
  บทบูชาพระธาตุ
  สรงน้ำพระธาตุ
  ในพุทธดำรัส และพระสาวก
  ในเทวดาและเปรต
พระธาตุปาฏิหาริย์
  พระธาตุปาฏิหาริย์
  ลักษณะการเกิด
  ประสบการณ์พระธาตุ
ภาพถ่ายพระธาตุ
  พระบรมธาตุ 1
พระบรมธาตุ 2
พระบรมธาตุ 3
  สาวกธาตุพุทธกาล
  สาวกธาตุปัจจุบัน
  วิธีถ่ายภาพพระธาตุ
บทความเกี่ยวกับพระธาตุ
พิพิธภัณฑ์พระธาตุ
กระดานข่าวสนทนา
บรรณานุกรม
บอกกล่าว
ภาพถ่ายพระธาตุ <<< กลับไปหน้านามพระสาวกสมัยกึ่งพุทธกาล

พระพุทธสาวกธาตุสมัยกึ่งพุทธกาล**

พระครูอินทวุฒิกร (ต่วน อินทปัญโญ)
วัดกล้วย จ.อยุธยา่ี

ชาติกำเนิดและชีวิตปฐมวัย

นามเดิม ต่วน สิทธิวงษา บิดา-มารดา นายเหม - นางเฉียบ สิทธิวงษา อาชีพ ทำนา

ท่านเกิดเมื่อปี พ.ศ. 2444 ที่กรุงพนมเปญ ประเทศกัมพูชา ในบรรดาพี่น้องหลายคน ท่านเองเป็นคนรูปร่างเตี้ยล่ำ ผิวคล้ำ วัยเด็กเรียนหนังสืออยู่กับพระที่วัด และติดตามพระอาจารย์เดินธุดงค์เข้ามาในประเทศไทย ตั้งแต่ยังเป็นสามเณร เมื่อมีอายุครบอุปสมบท ท่านได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุที่กรุงพนมเปญ และจำพรรษาอยู่ที่นั้น 1 พรรษา เมื่อออกพรรษารับผ้ากฐินแล้ว จึงเดินทางเข้ามาในประเทศไทย

ชีวิตสมณะ การแสวงหาธรรม และปฏิปทา

หลวงปู่ต่วน ได้เรียนวิชาอาคม เวทมนต์คาถาต่างๆ มากมาย ร่างกายของท่านมีรอยสักยันต์และอาบน้ำยาว่านเต็มไปหมด หลังอุปสมบทเป็นพระภิกษุแล้วท่านได้เดินธุดงค์ปฏิบัติธรรมเข้ามาในประเทศไทย มีพระที่เป็นสหายร่วมเดินธุดงค์หลายรูป แต่ส่วนใหญ่กลับสู่ประเทศเขมรหมด คงเหลือสหายธรรมอยู่ในประเทศไทยเพียง 2 รูป คือ หลวงปู่หิน วัดระฆัง ธนบุรี กับ หลวงปู่สร้อย วัดทางหลวง อ.บางซ้าย จ.อยุธยา

ต่อมาในปี พ.ศ. 2469 ท่านได้มาจำพรรษาวัดหัวโนน หรือวัดหัวใน ต.หนองแค อ.หนองแค จ.สระบุรี เพื่อเรียนวิปัสนากรรมฐาน กับหลวงปู่ทา เจ้าอาวาส ซึ่งเป็นชาวจังหวัดอุทัยธานี หลวงปู่ทาเป็นพระอาจารย์ที่มีวิชาอาคมมาก ท่านเป็นพระสหายที่ร่วมเดินธุดงค์กับหลวงปู่กลั่น วัดพระญาติ จ.อยุธยา

หลวงปู่ต่วน จำพรรษาเพื่อเรียนวิชากับหลวงปู่ทา ที่วัดหัวโนน เป็นเวลา 3 พรรษา หลังจากนั้น หลวงปุ่ทาก็ได้ให้หลวงปู่ต่วนมาอยู่ที่วัดกล้วยเพื่อพัฒนาวัดกล้วยให้เจริญ เมื่อเดินทางออกจากวัดหัวโนนแล้วท่านได้ไปพักกับ หลวงปู่หิน พระสหาย เพื่อเรียนวิชากับหลวงปู่นาค วัดระฆัง เมื่อออกจากวัดระฆังแล้ว ก็มาพำนักอยู่ที่วัดกล้วยและพัฒนาเสนาสนะ จนมีความเจริญทุกวันนี้

ท่านมรณภาพเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2529 หลังจากวันพระราชทานเพลิงศพหลวงปู่ต่วน แล้ว ก็ทำพิธีสามหาบเก็บอัฐิธาตุ และทำพิธีบรรจุอัฐิลงในรูปเหมือนของท่าน ในการทำพิธีบรรจุอัฐินั้น หลายคนสงสัยว่าทำไมอัฐิของท่านจึงมีสีขาวสะอาดและมีสีสันสวยงาม และที่แปลกอีกอย่างหนึ่งคือ ทำไมบริเวณกระดูกหน้าแข้งของท่านจึงเป็นหินสีน้ำตาล และกระดูกศีรษะเป็นสีเขียว สีฟ้า ขณะนั้นยังไม่มีใครรู้จักเรื่องกระดูกที่แปรเป็นพระธาตุกันมากนัก พระครูประภัศรญาณสุนทร ซึ่งเป็นเจ้าอาวาสองค์ต่อมา จึงได้เก็บกระดูกส่วนศีรษะไว้ชิ้นหนึ่ง และส่วนหน้าแข้งที่เป็นหินชิ้นหนึ่ง โดยไม่นำไปบรรจุในรูปเหมือนของท่าน ต่อมาเมื่อไปเก็บเศษขี้เถ้า จึงได้พบฟัน และลูกตาสีนิลทั้ง 2 ข้าง ส่วนเศษกระดูกนั้นในระยะแรกก็มีไขมันจับเยิ้มอยู่ แต่พอนานๆไปก็กลายเป็นผลึกหยกสีต่างๆและกลายเป็นพระธาตุเม็ดเล็กๆ กระดูกส่วนอื่นๆ ก็จับตัวเป็นเหมือนปะการังสีขาว

ธรรมโอวาท
๑. ข้อคิด กระดานแผ่นเดียว : มนุษย์เรานั้นจะอยู่ในฐานะอะไรก็ตาม จะอยู่ตึก หรือ กระต๊อบ ก็มีค่าเพียงกระดานแผ่นเดียว

๒. ศีล : ย่อมผูกใจไว้ซึ่งจิตโดยธรรมชาติ เพราะเหตุนั้นธรรมชาติอันเป็นเครื่องผูก ที่เรียกว่าศีลย่อมถูกข่มไว้ซึ่งจิต เพราะเหตุนั้นธรรมชาติอันเป็นเครื่องข่มที่เรียกว่าศีลนี้ ย่อมยังกุศลกรรมทั้งหลายให้ทรงไว้ เพราะเหตุนั้นธรรมชาติอันเป็นเครื่องยังกุศลกรรมทั้งหลายให้ทรงไว้จึงชื่อว่า ศีล

ภาพพระธาตุ




แหล่งข้อมูล-ภาพประกอบ: วัดกล้วย หมู่ที่ 11 ต.กะมัง อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา, คุณเรวัต

<<< back

พระบรมสารีริกธาตุ และ พระธาตุพระพุทธสาวก
พุทธบูชา 2542 - 2553 @ http://www.relicsofbuddha.com