เนื้อหาภายใน
หน้าแรก
คำนำ
พระบรมสารีริกธาตุ
  ความหมาย
  ประเภท
  คุณลักษณะ
  ลักษณะต่างๆ
  พระธาตุลอยน้ำ
ตำนานการเกิด
  ตำนานการเกิด
  สถานที่ประดิษฐาน
  พระอดีตพุทธเจ้า
  ธาตุปรินิพพาน
พุทธเจดีย์
  พุทธเจดีย์
  บุคคลที่ควรสร้างสถูป
  เจดีย์ประจำนักษัตร
พระธาตุพุทธสาวก
  พระธาตุพุทธสาวก
  สาวกธาตุพุทธกาล
  สาวกธาตุปัจจุบัน
บูชาพระธาตุ
  บูชาพระธาตุ
  อัญเชิญพระธาตุ
  บทบูชาพระธาตุ
  สรงน้ำพระธาตุ
  ในพุทธดำรัส และพระสาวก
  ในเทวดาและเปรต
พระธาตุปาฏิหาริย์
  พระธาตุปาฏิหาริย์
  ลักษณะการเกิด
  ประสบการณ์พระธาตุ
ภาพถ่ายพระธาตุ
  พระบรมธาตุ 1
พระบรมธาตุ 2
พระบรมธาตุ 3
  สาวกธาตุพุทธกาล
  สาวกธาตุปัจจุบัน
  วิธีถ่ายภาพพระธาตุ
บทความเกี่ยวกับพระธาตุ
พิพิธภัณฑ์พระธาตุ
กระดานข่าวสนทนา
บรรณานุกรม
บอกกล่าว

วิธีการถ่ายรูปภาพพระบรมสารีริกธาตุและพระธาตุ

มีผู้สอบถามกันมามากมาย สำหรับวิธีการถ่ายรูปภาพพระบรมสารีริกธาตุ และพระธาตุ รวมถึงวัตถุขนาดเล็ก ที่ลงอยู่ในเว็บไซต์แห่งนี้ ซึ่งหากโดยทั่วไป การถ่ายรูปภาพลักษณะนี้ จำเป็นต้องใช้อุปกรณ์เสริมจำนวนมาก เช่น ขาตั้งกล้อง เลนส์มาโคร ฯลฯ ซึ่งเป็นอุปกรณ์เสริมที่ยุ่งยากและราคาแพง จึงไม่คุ้มหากต้องการถ่ายรูปภาพจำนวนน้อย ปัญหานี้ทางเว็บก็เคยประสบปัญหามาแล้ว และได้หาวิธีการถ่ายภาพ โดยใช้อุปกรณ์ที่มีตามบ้าน มาประยุกต์ใช้ได้อย่างง่ายๆ ดังนี้

อุปกรณ์ที่ใช้

1. กล้องดิจิตอลธรรมดา มีโหมดมาโครแบบทั่วไป
2. เลนส์ส่องพระ ขนาด 10x หรือ 30x ตามแต่ที่จะหาได้
3. โคมไฟอ่านหนังสือ

วิธีถ่ายภาพ

1. นำวัตถุที่ต้องการถ่ายภาพ วางลงบนพื้นที่เป็นฉาก เปิดโคมไฟอ่านหนังสือ ปรับแสงตามชอบ
2. เปิดสวิทซ์การทำงานของกล้องดิจิตอล ขอแนะนำให้เลือกใช้รุ่นที่มีเลนส์วัตถุขนาดเล็ก (เพื่อที่จะสามารถใช้เลนส์ต่อเข้าหน้ากล้องได้พอดี) ปรับโหมดการทำงานให้อยู่ในโหมดการถ่ายภาพเคลื่อนไหว หรือ ปรับให้มีความเร็วชัตเตอร์สูงขึ้น เพื่อป้องกันการสั่นไหวของภาพจากการใช้มือเล็ง รวมถึงปรับให้อยู่ในโหมดมาโครของกล้องด้วย ปิดแฟลช
3. นำเลนส์ส่องพระมาต่อเข้าที่หน้ากล้อง ทำการเล็งไปที่วัตถุที่ต้องการถ่ายภาพ ดูให้ภาพที่แสดงผลที่จอ LCD ของกล้องมีความชัดเจน แล้วจึงถ่ายรูป
4. ตรวจดูภาพว่าชัดเจนหรือไม่ หากไม่ก็ทำการถ่ายซ้ำใหม่อีกหน



การส่งไฟล์ดิจิตอลเพื่ออัดภาพ

เมื่อถ่ายภาพได้ตามต้องการแล้ว สามารถส่งไฟล์ภาพดิจิตอลเพื่ออัดภาพลงกระดาษได้ โดยทำการบันทึกไฟล์รูปที่ได้ ลงแผ่นดิสเกตต์ ซีดี หรือ สิ่งบันทึกข้อมูลต่างๆ ส่งอัดตามร้านหรือศูนย์ถ่ายภาพทั่วไป ทั้งนี้เพื่อให้ภาพมีความชัดเจนสวยงามและ ไม่แตกเมื่ออัดออกมา จึงจำเป็นต้องใช้ไฟล์รูป ที่มีขนาดไม่เล็กเกินไป โดยมีวิธีการประเมินขนาดของไฟล์รูปเพื่ออัดลงบนกระดาษแต่ละขนาด คือ เครื่องอัดภาพตามร้านทั่วไป สามารถพิมพ์ภาพความละเอียดสูงสุดที่ 300 dpi แต่คุณภาพของรูปที่ยังอยู่ในเกณฑ์ดีเมื่ออัดแล้ว ขนาดของไฟล์ภาพที่ส่งอัด ไม่ควรต่ำกว่า 200 dpi ดังนี้

ขนาดภาพ (นิ้ว) ขนาดไฟล์ที่เหมาะสม (pixels)
4 x 6 ไม่ต่ำกว่า 800 x 1200
5 x 7 ไม่ต่ำกว่า 1000 x 1400
8 x 10 ไม่ต่ำกว่า  1600 x 2000
8 x 12 ไม่ต่ำกว่า  1600 x 2400
 

***หมายเหตุ วิธีนี้ใช้ได้ผลมาหลายท่านแล้วครับ หวังว่าคงถ่ายรูปภาพพระธาตุหรือวัตถุอย่างอื่นได้อย่างสนุกสนานนะครับ หากถ่ายได้แล้วก็มาแบ่งๆกันชมบ้างนะครับผม ที่ nattachai1024@yahoo.com

พระบรมสารีริกธาตุ และ พระธาตุพระพุทธสาวก
พุทธบูชา 2542 - 2554 @ http://www.relicsofbuddha.com