เนื้อหาภายใน
หน้าแรก
คำนำ
พระบรมสารีริกธาตุ
  ความหมาย
  ประเภท
  คุณลักษณะ
  ลักษณะต่างๆ
  พระธาตุลอยน้ำ
ตำนานการเกิด
  ตำนานการเกิด
  สถานที่ประดิษฐาน
  พระอดีตพุทธเจ้า
  ธาตุปรินิพพาน
พุทธเจดีย์
  พุทธเจดีย์
  บุคคลที่ควรสร้างสถูป
  เจดีย์ประจำนักษัตร
พระธาตุพุทธสาวก
  พระธาตุพุทธสาวก
  สาวกธาตุพุทธกาล
  สาวกธาตุปัจจุบัน
บูชาพระธาตุ
  บูชาพระธาตุ
  อัญเชิญพระธาตุ
  บทบูชาพระธาตุ
  สรงน้ำพระธาตุ
  ในพุทธดำรัส และพระสาวก
  ในเทวดาและเปรต
พระธาตุปาฏิหาริย์
  พระธาตุปาฏิหาริย์
  ลักษณะการเกิด
  ประสบการณ์พระธาตุ
ภาพถ่ายพระธาตุ
  พระบรมธาตุ 1
พระบรมธาตุ 2
พระบรมธาตุ 3
  สาวกธาตุพุทธกาล
  สาวกธาตุปัจจุบัน
  วิธีถ่ายภาพพระธาตุ
บทความเกี่ยวกับพระธาตุ
พิพิธภัณฑ์พระธาตุ
กระดานข่าวสนทนา
บรรณานุกรม
บอกกล่าว

Quick link : ตำนานการเกิด | สถานที่ประดิษฐาน | หน้า 2 >>

ตำนานการเกิดพระบรมสารีริกธาตุ

เหตุที่เกิดพระบรมสารีริกธาตุจำนวนมากขึ้นนั้น พระโบราณาจารย์อธิบายว่า เกิดจากพุทธประสงค์ ก่อนที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจะเสด็จปรินิพพาน ดังต่อไปนี้

โดยปกติที่พระพุทธเจ้าที่ทรงมีพระชนมายุยืนยาว สามารถประดิษฐานพระพุทธศาสนาให้มั่นคง จะมีพระบรมสารีริกธาตุที่มีลักษณะรวมกันเป็นแท่งเดียว ดุจทองแท่งธรรมชาติ ซึ่งมหาชนในสมัยนั้นไม่สามารถแบ่งปัน นำไปประดิษฐานตามที่ต่างๆได้ จึงจำต้องสร้างพระธาตุเจดีย์ขึ้นประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุไว้ในที่แห่งเดียว ซึ่งพระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบัน (พระสมณโคดม) ทรงเล็งเห็นว่า พระองค์มีเวลาปฏิบัติพุทธกิจเพียง 45 ปี นับว่าน้อยมาก เมื่อเทียบกับพระพุทธเจ้าพระองค์ก่อน ศาสนาของพระองค์ยังไม่แพร่หลาย และหมู่สัตว์ทั้งหลายเกิดมาไม่ทันสมัยพระองค์มีมากนัก หากได้อัฐิธาตุของพระองค์ไปอุปัฎฐากบูชา จะได้บุญกุศลเป็นอันมาก จึงทรงอธิษฐานให้พระบรมสารีริกธาตุของพระองค์ แตกย่อยลงเป็น 3 สัณฐาน เว้นแต่ธาตุทั้ง 7 ประการ คือ พระนลาฏ (กระดูกหน้าผาก)1 พระเขี้ยวแก้ว4 และพระรากขวัญ (กระดูกไหปลาร้า)2 นอกจากนั้นให้กระจายไปทั่วทิศานุทิศ เพื่อยังประโยชน์แก่หมู่สัตว์ทั่วไป

ซึ่งความทั้งหมดพ้องกันจากตำราหลายๆ ตำรา ที่พระอาจารย์สมัยต่างๆได้รจนาไว้ ดังเช่น "อรรถกถาสุมังคลวิลาสินี" "ปฐมสมโพธิกถา" ของ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส "ตำนานมูลศาสนา" "ชินกาลมาลีปกรณ์" และ "พุทธตำนานพระเจ้าเลียบโลก" เป็นต้น

เหตุการณ์ก่อน ขณะ และ หลังพุทธปรินิพพาน
เนื้อหาจากพระไตรปิฎก
มหาปรินิพพานสูตร (*.txt)
เหตุการณ์ขณะถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระ
และการทำธาตุนิธาน เนื้อหาจากอรรถกถา
ตำนานธาตุนิธาน (*.txt)
เหตุการณ์และคำสอนของพระพุทธเจ้าในช่วงเวลาใกล้ปรินิพพาน นำมาเรียบเรียงเป็นเรื่องราวชวนอ่าน
โดย อ.วศิน อินทสระ
หนังสือพระพุทธโอวาทก่อนปรินิพพาน (*.pdf) จัดทำโดยเว็บไซต์กัลยาณธรรม 

สถานที่ประดิษฐาน

พระบรมสารีริกธาตุ แบบที่กระจัดกระจายนั้น หลังจากได้ทำการแบ่งออกเป็น 8 ส่วน แยกย้ายไปประดิษฐานตามเมืองต่างๆ หลังจากถวายพระเพลิงแล้ว ตามตำนานกล่าวว่า พระมหากัสสปะเถระ และ พระเจ้าอชาตศัตรู ได้ร่วมกันกระทำ 'ธาตุนิธาน' คือการอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุที่แบ่งออกไปนั้นกลับมาประดิษฐานรวมกันไว้ในที่แห่งเดียว เพื่อป้องกันการสูญหาย จากการศึกและสงคราม และในตอนท้ายของตำนานกล่าวว่า บุคคลผู้มาอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุออกไปและกระทำการเผยแผ่พระพุทธศาสนาให้ยิ่งใหญ่ ก็คือ พระเจ้าอโศกมหาราช นั่นเอง

จากเนื้อความในพระปฐมสมโพธิกถา ได้มีการแจกแจงถึงสถานที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ แบบที่ไม่กระจัดกระจาย ทั้ง 7 ประการ สรุปได้ดังนี้

  1. พระเขี้ยวแก้วเบื้องบนขวา ประดิษฐานอยู่ที่ พระจุฬามณีเจดีย์ บนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์
(บางตำรากล่าวว่า ได้อัญเชิญมาประดิษฐาน ณ ประเทศศรีลังกา ในรัชสมัยของพระเจ้าทุฏฐคามินีอภัย)
 
2. พระเขี้ยวแก้วเบื้องบนซ้าย ประดิษฐานอยู่ที่ เมืองคันธารราฏฐ
(แคว้นคันธาระ เป็นอาณาจักรในสมัยโบราณ กินอาณาเขตทางตอนเหนือของประเทศปากีสถาน และตะวันออกของประเทศอัฟกานิสถานในปัจจุบัน)
  3. พระเขี้ยวแก้วเบื้องล่างขวา ประดิษฐานอยู่ที่ ณ ประเทศศรีลังกา
(เชื่อกันว่า เป็นพระเขี้ยวแก้วองค์ที่ประดิษฐานอยู่ที่วัดศรีดาลาดามาลิกาวา เมืองเคนดี ในปัจจุบัน)
  4. พระเขี้ยวแก้วเบื้องล่างซ้าย ประดิษฐานอยู่ที่ นาคพิภพ
  5. พระรากขวัญขวา ประดิษฐานอยู่ที่ พระเกศจุฬามณีเจดีย์ บนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์
(บางตำรากล่าวว่า ภายหลังได้อัญเชิญมาประดิษฐานยังพระเจดีย์ถูปาราม ประเทศศรีลังกา)
 
6. พระรากขวัญซ้าย ประดิษฐานอยู่ที่ ทุสสเจดีย์ บนสวรรค์ชั้นพรหมโลก
(ทุสสเจดีย์ ประดิษฐานอยู่ ณ อกนิฏฐพรหมโลก ซึ่งเป็นภพภูมิหนึ่งในปัญจสุทธาวาส และเป็นชั้นสูงสุดของรูปพรหม)
 
7. พระอุณหิศ(กรอบหน้า) ประดิษฐาน ณ ทุสสเจดีย์ บนสวรรค์ชั้นพรหมโลก
(บางตำรากล่าวว่า พระมหากัสสปะเถระเป็นผู้เก็บรักษาไว้ และมอบแก่สัทธิวิหาริกสืบต่อกันมา ภายหลังพระมหาเทวเถระ จึงได้เป็นผู้อัญเชิญไปประดิษฐานยังประเทศศรีลังกา)

next>>>

พระบรมสารีริกธาตุ และ พระธาตุพระพุทธสาวก
พุทธบูชา 2542 - 2554 @ http://www.relicsofbuddha.com