เนื้อหาภายใน
หน้าแรก
คำนำ
พระบรมสารีริกธาตุ
  ความหมาย
  ประเภท
  คุณลักษณะ
  ลักษณะต่างๆ
  พระธาตุลอยน้ำ
ตำนานการเกิด
  ตำนานการเกิด
  สถานที่ประดิษฐาน
  พระอดีตพุทธเจ้า
  ธาตุปรินิพพาน
พุทธเจดีย์
  พุทธเจดีย์
  บุคคลที่ควรสร้างสถูป
  เจดีย์ประจำนักษัตร
พระธาตุพุทธสาวก
  พระธาตุพุทธสาวก
  สาวกธาตุพุทธกาล
  สาวกธาตุปัจจุบัน
บูชาพระธาตุ
  บูชาพระธาตุ
  อัญเชิญพระธาตุ
  บทบูชาพระธาตุ
  สรงน้ำพระธาตุ
  ในพุทธดำรัส และพระสาวก
  ในเทวดาและเปรต
พระธาตุปาฏิหาริย์
  พระธาตุปาฏิหาริย์
  ลักษณะการเกิด
  ประสบการณ์พระธาตุ
ภาพถ่ายพระธาตุ
  พระบรมธาตุ 1
พระบรมธาตุ 2
พระบรมธาตุ 3
  สาวกธาตุพุทธกาล
  สาวกธาตุปัจจุบัน
  วิธีถ่ายภาพพระธาตุ
บทความเกี่ยวกับพระธาตุ
พิพิธภัณฑ์พระธาตุ
กระดานข่าวสนทนา
บรรณานุกรม
บอกกล่าว
ภาพถ่ายพระธาตุ <<< กลับไปหน้านามพระสาวกสมัยกึ่งพุทธกาล

พระพุทธสาวกธาตุสมัยกึ่งพุทธกาล**

พระครูการุณยธรรมนิวาส (หลวง กตปุญโญ)
วัดป่าสำราญนิวาส จ.ลำปาง

ชาติกำเนิดและชีวิตปฐมวัย

นามเดิมชื่อ หลวง สอนวงศ์ษา บิดาชื่อนายสนธิ์ มารดาชื่อนางสียา เกิดเมื่อวันที่ ๒๗ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๖๔ ณ บ้านบัว ต.สว่าง อ.พรรณนานิคม จ.สกลนคร โดยเป็นพี่ชายคนโต

เมื่ออายุได้ ๗-๘ ขวบ ได้ไปปรนนิบัติหลวงลุง ซึ่งเป็นพระมหานิกายอยู่วัดใกล้บ้าน พร้ามกับเรียนหนังสือไปด้วย จึงมีจิตใจโน้มเอียงมาทางพระพุทธศาสนา จนได้อ่านหนังสือ พระไตรสรณคมน์ ของพระอาจารย์สิงห์ ขนฺตยาคโม จึงมีความเลื่อมใสมากขึ้น

ชีวิตสมณะ การแสวงหาธรรม และปฏิปทา

เมื่ออายุ ๒๒ ปี จึงอุปสมบทในสังกัดมหานิกาย เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๘๕ ณ พัทธสีมา วัดศรีรัตนาราม อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร ได้รับฉายาว่า ขนฺติพโล ท่านมีความขยันอดทน ทั้งปริยัติและปฏิบัติ จนสอบได้ นักธรรมชั้นโท ระยะนั้นหลวงปู่สิม พุทฺธาจาโร กลับไปเยี่ยมบ้านเกิดพระหลวงจึงได้ไปกราบศึกษาข้อวัตร ปฏิปทา และอุปัฏฐากรับใช้อยู่หลายเดือน

ครั้งหนึ่งท่านได้ไปกราบพระธาตุพนม และได้แวะกราบนมัสการหลวงปู่แว่น ธนปาโล ที่อำเภอเมืองสกลนคร จึงได้มีโอกาสพบหลวงปู่มั่น จนซาบซึ้งในรสพระธรรม จึงเดินทางแสวงหาครูบาอาจารย์ทางภาคเหนือ

ได้แปรญัตติใหม่ เมื่อวันที่ ๙ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๙๓ ณ วัดเชตวัน อ.เมือง จ.ลำปาง โดยมีพระครูธรรมาภิวงค์ เป็นพระอุปัชฌาย์ หลวงปู่แว่น ธนปาโล เป็นพระกรรมวาจาจารย์ หลวงปู่เหรียญ วรลาโภ เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาใหม่ว่า กตปุญฺโญ ท่านได้ติดตามครูบาอาจารย์หลายองค์ เช่น หลวงปู่ชอบ ฐานสโม หลวงปู่สิม พุทฺธาจาโร หลวงปู่แว่น ธนปาโล ไปในหลายจังหวัดในเขตภาคเหนือ เพื่อฝึกปฏิบัติอบรมกัมมัฏฐานภาวนา จนได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดป่าสำราญนิวาส ในปี พ.ศ. ๒๕๐๖ และในปีเดียวกันก็ได้เป็นเจ้าคณะตำบลอำเภอเกาะคา แม่ทะ ต่อมาในปี พ.ศ.๒๕๐๙ ได้รับสมณศักดิ์เป็นพระครูการุณยธรรมนิวาส และปี พ.ศ. ๒๕๑๑ เป็นพระอุปัชฌาย์ หลวงปู่หลวงได้ดูแลรักษา พัฒนาวัดป่าสำราญนิวาส ทั้งทางด้านศาสนสถานและศาสนวัตถุ เทศนาสั่งสอนญาติโยม หลวงปู่หลวง กตปุญฺโญ เป็นพระเถระผู้ใหญ่ที่มีปฏิปทาอันงดงามเปี่ยมล้นด้วยเมตตาธรรม เป็นที่เคารพเลื่อมใส ศรัทธาของสาธุชน

หลวงปู่หลวง ได้ละสังขารด้วยอาการอันสงบ ในวันจันทร์ที่ ๑๔ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ เวลา ๐๑.๑๐ น. ซึ่งตรงกับวันปวารณาเข้าพรรษา ณ ห้องไอซียู โรงพยาบาลวิชัยยุทธ กรุงเทพ รวมสิริอายุได้ ๘๒ ปี ๔ เดือน ๑๕ วัน ๕๓ พรรษา (เฉพาะญัตติธรรมยุติกนิกาย)

ธรรมโอวาท
๑. หลักธรรม หลักธรรมในโลก มี 2 อย่าง คือโลกียธรรม 1 โลกุตรธรรม 1 ความดีในโลกก็มี 2 คือ อริยทรัพย์ ทรัพย์ กับโภคทรัพย์ๆ คือโลกธรรมแปด ลาภ ยศ สรรเสริญ สุข ฯ โลกุตรธรรมมี มรรค 4 ผล 4 นิพพาน 1 ฯ รวมความให้สั้นลงมาอีกคือ ธนาผลคือ วัตถุข้าวของเงินทองเป็นต้น อริยะยส คือ มรรคแปด พระโสดา พระสกิทาคา พระอนาคา พระอรหันต์ พระอรหันต์ เป็นต้น

๒. คติธรรมที่ดีที่สุด หลงมากทุกข์มาก หลงน้อยทุกข์น้อย ไม่หลงเสียเลยไม่มีทุกข์ เลิกหลงกันทีเถอะ

๓. อุดมคติธรรม ว่า บุคคลเรา ใจมันง่าวใบ้ง่าวบอด หลงคอดอยู่ในหนังบั้งขี้ มีแต่ทุกข์ตลอดไป สิ่งที่แก้กันได้คือ สร้างศีล สมาธิ ปัญญา ขึ้นในใจ ฯ

ภาพพระธาตุ


แหล่งข้อมูล: วัดสันติธรรม. 2548. 50 ปี สันติธรรมานุสรณ์. กลางเวียงการพิมพ์, เชียงใหม่ และ ไชยา สิริธัมโม, พระครูสังฆรักษ์ และคณะ. 2548. อนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพ พระครูการุณยธรรมนิวาส (หลวงปู่หลวง กตปุญโญ). ขอนแก่นการพิมพ์, ขอนแก่น.

<<< back

พระบรมสารีริกธาตุ และ พระธาตุพระพุทธสาวก
พุทธบูชา 2542 - 2553 @ http://www.relicsofbuddha.com