เนื้อหาภายใน
หน้าแรก
คำนำ
พระบรมสารีริกธาตุ
  ความหมาย
  ประเภท
  คุณลักษณะ
  ลักษณะต่างๆ
  พระธาตุลอยน้ำ
ตำนานการเกิด
  ตำนานการเกิด
  สถานที่ประดิษฐาน
  พระอดีตพุทธเจ้า
  ธาตุปรินิพพาน
พุทธเจดีย์
  พุทธเจดีย์
  บุคคลที่ควรสร้างสถูป
  เจดีย์ประจำนักษัตร
พระธาตุพุทธสาวก
  พระธาตุพุทธสาวก
  สาวกธาตุพุทธกาล
  สาวกธาตุปัจจุบัน
บูชาพระธาตุ
  บูชาพระธาตุ
  อัญเชิญพระธาตุ
  บทบูชาพระธาตุ
  สรงน้ำพระธาตุ
  ในพุทธดำรัส และพระสาวก
  ในเทวดาและเปรต
พระธาตุปาฏิหาริย์
  พระธาตุปาฏิหาริย์
  ลักษณะการเกิด
  ประสบการณ์พระธาตุ
ภาพถ่ายพระธาตุ
  พระบรมธาตุ 1
พระบรมธาตุ 2
พระบรมธาตุ 3
  สาวกธาตุพุทธกาล
  สาวกธาตุปัจจุบัน
  วิธีถ่ายภาพพระธาตุ
บทความเกี่ยวกับพระธาตุ
พิพิธภัณฑ์พระธาตุ
กระดานข่าวสนทนา
บรรณานุกรม
บอกกล่าว
ภาพถ่ายพระธาตุ <<< กลับไปหน้านามพระสาวกสมัยกึ่งพุทธกาล

พระพุทธสาวกธาตุสมัยกึ่งพุทธกาล**

หลวงปู่ขาน ฐานวโร
วัดป่าบ้านเหล่า กิ่งอ.เวียงเชียงรุ้ง จ.เชียงราย

ชาติกำเนิดและชีวิตปฐมวัย

นามเดิม ทองขาน สุขา กำเนิด15 มิถุนายน 2478 ที่บ้านโนนปอแดง ต. โนนสัง อ.โนนสัง จ.อุดรธานี(ปัจจุบัน เป็นจ.หนองบัวลำภู) ท่านเป็นบุตรคนที่9 ของ คุณพ่อหนู คุณแม่ห่อน สุขา มีพี่น้องทั้งหมด10 คน

1. พระสอน (มรณภาพ)
2.นายพร(ถึงแก่กรรม)
3. นางสอ(ถึงแก่กรรม)
4.นางสังข์(ถึงแก่กรรม)
5นางวัง(ถึงแก่กรรม)
6นางเวิน(ถึงแก่กรรม)
7นางเหวิ่น(ถึงแก่กรรม)
8นายหว่าน(ถึงแก่กรรม)
9หลวงปู่ขาน ฐานวโร
10 นางก้าน (มารดาของพระอาจารย์เสถียร สมาจาโร)

ชีวิตช่วงเยาว์วัยท่านเรียนจบชั้นป.4 ได้ออกช่วยบิดามารดาทำไร่สวน

ชีวิตสมณะ การแสวงหาธรรม และปฏิปทา

หลวงปู่บรรพชาเมื่ออายุ 15 ปี ต่อมาได้อุปสมบท ณ พัทธสีมา วัดป่าชะบาวัน บ้านกุดฉิม ใน อ.โนนสัง เมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม 2500 เวลา 15.43 น. โดยมีพระครูศาสนูปกรณ์ วัดโยธานิมิตร เป็นพระอุปัชฌาย์ หลวงปู่อุ่น ชาคโร เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอธิการเพ็ง อิติโสภโณ เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้ฉายา ฐานวโร แปลว่า ที่ตั้ง อันประเสริฐ

หลวงปู่ได้พำนักที่วัดป่าโคกสำโรง ซึ่งมีหลวงพ่อชม โฆสิโก เป็นเจ้าอาวาส พอออกพรรษาหลวงปู่ขานได้เดินทางปฏิบัติ ธรรมกับหลวงปู่ขาว วัดถ้ำกลองเพล ตลอดระยะเวลลาที่อยุ่วัดถ้ำกลองเพล หลวงปู่ได้ปฏิบัติภาวนาอย่างเข้มข้น หลังจากนั้นหลวงปู่ได้จาริกไป ที่ต่างๆ เช่น วัดป่าแก้วชุมพล ปฏิบัติธรรมกับหลวงปู่จวน กุลเชษโฐ ที่ถ้ำจันทร์ หนองคาย หลังจากนั้นได้ธุดงไปยังถ้ำพระ ที่ อ.บ้านผือ จ.อุดรธานี พบหลวงปู่ลี กุสลธโร ทั้ง 2 ท่านต่างภาวนาอย่างไม่ลดละต่อกิเลส จนหลวงปู่ขาน ได้พบกับวิมุตติธรรมอันประเสริฐ อันเป็นเครื่องยุติการเดินทางใน 3 โลกธาตุ หลวงปู่ ได้กลับไปนมัสการพระอาจารย์ท่านต่างๆ และได้พาญาติพี่น้องของท่านอพยพ มาอยู่ที่บ้านเหล่าเชียงราย เนื่องจากบ้านโนนปอแดง อยู่ในพื้นที่สร้างเขื่อนอุบลรัตน์ สำหรับวัดป่าบ้านเหล่าหรือดอยกู่แก้วเคยเป็นวัดในสมัยพระเจ้ากือนา กษัตริย์ อาณาจักรเชียงแสนมาก่อน

ปฏิปทา
หลวงปู่มักจะสอนพระเณรให้รู้จักพึ่งตนเอง มีความอดทน และทำเป็นตัวอย่างมากกว่าสอนด้วยปากเปล่า และหลวงปู่ไม่รับนิมนต์กิจ ที่ไหนไกลจากบ้านเหล่าเลย อีกทั้งท่านยังเป็นพระที่มีขันติธรรม แม้ท่านป่วยก็ไม่บ่น แสดงอาการอ่อนแอให้ใครเห็นเลย

มรณภาพ
หลวงปู่มรณภาพด้วยอาการไตวายเรื้อรัง เมื่อวันที่ 31 กรกฏาคม 2549 เวลา 21.34 น. สิริรวม 71 ปี 1 เดือน 17 วัน 50 พรรษา

ธรรมโอวาท
๑. ไปไหนไม่เท่ากับอยู่วัด อยู่วัดไหนก็ ไม่เท่าอยู่วัดตัวเอง
๒. คนมีโรคเป็นลาภอันประเสริฐ จะได้ไม่นิ่งนอนใจในชีวิต

ภาพพระธาตุ

ตัดทอนและเรียบเรียงจาก: หนังสือชีวประวัติหลวงปู่ขาน ฐานวโร และ ภาพหลวงปู่จาก http://www.watpa.com/board_detail.asp?board_id=1183

<<< back

พระบรมสารีริกธาตุ และ พระธาตุพระพุทธสาวก
พุทธบูชา 2542 - 2553 @ http://www.relicsofbuddha.com