เนื้อหาภายใน
หน้าแรก
คำนำ
พระบรมสารีริกธาตุ
  ความหมาย
  ประเภท
  คุณลักษณะ
  ลักษณะต่างๆ
  พระธาตุลอยน้ำ
ตำนานการเกิด
  ตำนานการเกิด
  สถานที่ประดิษฐาน
  พระอดีตพุทธเจ้า
  ธาตุปรินิพพาน
พุทธเจดีย์
  พุทธเจดีย์
  บุคคลที่ควรสร้างสถูป
  เจดีย์ประจำนักษัตร
พระธาตุพุทธสาวก
  พระธาตุพุทธสาวก
  สาวกธาตุพุทธกาล
  สาวกธาตุปัจจุบัน
บูชาพระธาตุ
  บูชาพระธาตุ
  อัญเชิญพระธาตุ
  บทบูชาพระธาตุ
  สรงน้ำพระธาตุ
  ในพุทธดำรัส และพระสาวก
  ในเทวดาและเปรต
พระธาตุปาฏิหาริย์
  พระธาตุปาฏิหาริย์
  ลักษณะการเกิด
  ประสบการณ์พระธาตุ
ภาพถ่ายพระธาตุ
  พระบรมธาตุ 1
พระบรมธาตุ 2
พระบรมธาตุ 3
  สาวกธาตุพุทธกาล
  สาวกธาตุปัจจุบัน
  วิธีถ่ายภาพพระธาตุ
บทความเกี่ยวกับพระธาตุ
พิพิธภัณฑ์พระธาตุ
กระดานข่าวสนทนา
บรรณานุกรม
บอกกล่าว

เครื่องหมายสัญลักษณ์
เว็บไซต์พระบรมสารีริกธาตุและพระธาตุพระพุทธสาวก
www.RELICSofBUDDHA.com

เนื่องด้วยเดือนเมษายน ปีพุทธศักราช 2549 ได้โอกาสครบรอบ 7 ปี และก้าวขึ้นสู่ปีที่ 8 แห่งการจัดทำเว็บไซต์พระบรมสารีริกธาตุ และ พระธาตุพระพุทธสาวกแห่งนี้ อีกทั้งทางเว็บไซต์ยังไม่มีตราสัญลักษณ์สำหรับใช้อย่างเป็นทางการ ในด้านงานเอกสารและใช้สำหรับเป็นสิ่งที่สื่อความหมายแทนเว็บไซต์แห่งนี้

จึงได้ขออนุญาตนำภาพต้นแบบเหรียญ ที่จะจัดสร้างบรรจุในองค์พระพุทธรูปสมเด็จองค์ปฐมฯ ปางมหาจักรพรรดิ์ประทานพร หน้าตัก 12 นิ้ว (ปัจจุบันเพิ่มขนาดความกว้างหน้าตักเป็น 16 นิ้ว) จาก นพ.อานุภาพ สหภิญโญชนม์ เพื่อมาประยุกต์ และดัดแปลงเพื่อใช้เป็นตราสัญลักษณ์เว็บไซต์ ซึ่งก็ได้รับการอนุญาตให้นำไปใช้ได้ตามประสงค์

รูปแบบของตราสัญลักษณ์

มองโดยรวมเป็นรูปจักร 16 ใบมีด กลางจักรประกอบด้วยพระพุทธรูปทรงเครื่องจักรพรรดิ์ ล้อมด้วยอักขระขอมไทย จักรวงในประกอบด้วยอักขระตัวธรรม ลายเส้นภาพพระธาตุ 12 นักษัตร และราหู ซึ่งเป็นการรวมความหมายถึงภาคต่างๆของประเทศมาไว้ด้วยกัน ได้แก่ ภาพพระพุทธรูปทรงเครื่องกษัตริย์ หมายถึงพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร แทนความหมายถึงภาคกลาง อักขระตัวธรรม (ตั๋วเมือง) และ ภาพพระเจดีย์บนแผ่นดินล้านนา แทนความหมายถึง ภาคเหนือ อักขระขอมไทย และ ภาพเจดีย์พระธาตุพนม แทนความหมายถึง ภาคอิสาน ทั้งอิสานเหนือและอิสานใต้ ดวงตราราหู แทนความหมายถึงภาคใต้ รูปจักรที่เป็นทรงกลม แทนพระอาทิตย์ หมายถึงภาคตะวันออก

อักขระที่ปรากฏ

ใต้ฐานพระประกอบด้วยอักขระขอมไทย 4 ตัว ได้แก่ จิ เจ รุ นิ หมายถึง หัวใจพระอภิธรรม ประกอบด้วย จิต เจตสิก รูป และ พระนิพพาน อธิบายเป็นแนวปฏิบัติคือ ห้ามจิตอย่าให้ชั่ว ห้ามอารมณ์อย่าให้ฟุ้งซ่าน อย่าหลงในรูป และ ให้หวังพระนิพพาน

พระพุทธรูปล้อมรอบด้วยอักขระขอมไทย 4 ตัว ได้แก่ นะ มะ พะ ทะ หมายถึง ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุลม และธาตุไฟ ซึ่งมาประชุมกันเป็นพระวรกายแห่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เมื่อแตกแยกย่อยออกมา จึงหมายถึงพระบรมสารีริกธาตุนั่นเอง

บนจักรวงใน ประกอบด้วยอักขระตัวธรรม เป็น คาถา 2 บท คือ นะ โม พุท ธา ยะ และ คาถาอิติปิโสเรือนเตี้ย อิติปิโสวิเสเสอิ อิเสเสพุทธนาเมอิ อิเมนาพุทธตังโสอิ อิโสตังพุทธปิติอิ ซึ่งเป็นคาถาที่นิยมใช้ ในการสวดบูชาและอัญเชิญ พระบรมสารีริกธาตุและพระธาตุต่างๆ

วงชั้นกลาง อักขระขอมไทยปรากฏอยู่บนราหู 12 ตน ประกอบเป็น มนต์โมรปริตร คือ นะโมวิมุตตานัง นะโมวิมุติยา มีความหมายว่า ข้าพเจ้าขอนอบน้อมบูชา แด่ท่านผู้พ้นจากกิเลสแล้วทั้งหลาย ข้าพเจ้าขอนอบน้อม แด่วิมุติธรรม (ธรรมเครื่องพ้นทุกข์)

วงนอกสุด ประจำใบมีดบนจักร ประกอบเป็นคาถาพระพุทธเจ้า 16 พระองค์ คือ นะ มะ นะ อะ นอ กอ นะ กะ กอ ออ นอ อะ นะ อะ กะ อัง ซึ่งเป็นพระนามย่อของพระพุทธเจ้าองค์ต่างๆ

ความหมายโดยรวมของตราสัญลักษณ์

พระบรมสารีริกธาตุแห่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้ซึ่งทรงเป็นพระมหาธรรมราชา ผู้ทรงแสดงพระอภิธรรมอันลึกซึ้ง ประดิษฐานอยู่ ณ พระเจดีย์องค์ใด ข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ขอนอบน้อมบูชากราบไหว้ ซึ่งพระบรมสารีริกธาตุอันประเสริฐเหล่านั้น เพื่อระลึกถึงองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และเหล่าพระอรหันตสาวกทั้งปวง ว่าองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลาย ได้มอบอาวุธ คือ ปัญญา(ธรรมจักร) แก่เหล่าพุทธบริษัท เพื่อสังหารซึ่งมาร คือ อาสวะกิเลส ให้หมดสิ้นไปจากจิตใจ ดังที่มีพระบรมสารีริกธาตุและพระธาตุทั้งหลาย เป็นสิ่งยืนยันผลแห่งการปฏิบัติซึ่งธรรมเหล่านั้น

คาถาบูชาพระบรมสารีริกธาตุ (จากความหมายโดยรวมของตราสัญลักษณ์)

นะโมตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ 3 จบ

อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ โลกานัง อะนุกัมปะโก  
เวเนยยานัง ปะโพเธตา สันติมัคคานุสาสะโก  
ธัมมะราชา ธัมมะสามี หิตายะ สัพพะปาณินัง  
สุขุมัญ เจวะ คัมภีรัญจะ เทเสติ อะภิธัมมิกัง  
สารีริกะธาตุโย ตัสสะ ยัตถาปิ อิธะ เจติยัง  
สันติสุเข ปะติฏฐาติ อิสสะรา สาตะตัง ฐิตา  
อะหัง วันทามิ ธาตุโย อะหัง วันทามิ สัพพะโส  
ระตะนัตตะยานุภาเวนะ ระตะนัตตะยะเตชะสา  
ทิฏฐะธัมเม วิโรเจมิ สัพพะสัมปัตติสิทธิยา  
อิทธิง ปัปโปมิ เวปุลลัง วิรุฬหิง จุตตะริง สะทา  
วัณณะวา พะละสัมปันโน นิรามะโย จะ นิพภะโย  
สะทา ภัทรานิ ปัสสามิ ชะยะโสตถี ภะวันตุ เม ฯ  
แต่งโดย... พระมหาสุพจน์ ฐิตชวโน ป.ธ. ๙ วัดชนะสงคราม
 


<<< back

พระบรมสารีริกธาตุ และ พระธาตุพระพุทธสาวก
พุทธบูชา 2542 - 2554 @ http://www.relicsofbuddha.com